จากเหตุการณ์สองนักศึกษาไทยประสบอุบัติเหตุชนราวกั้นถนนอุทยานแห่งชาติคิงส์ แคนยอน เมืองเฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนีย ตกลงไปที่แก่นหินในลำธารกันเหว เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 60 ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังไม่สามารถกู้ร่างหรือซากรถขึ้นมาได้ โดยทางเจ้าหน้าที่ให้เหตุผลว่า ระดับน้ำเชี่ยวและสภาพอากาศ มีเสี่ยงต่อทีมกู้ภัย จึงต้องรอดูสภาพอากาศ-พายุและระดับน้ำเสียก่อน
เมื่อได้กล่าวถึงการกู้ร่างหรือกู้ซากรถนัน ซึ่งต้องค่าใช้จ่ายอย่างแน่นอน แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถเจรจาหรือตกลงในเรื่องดังกล่าวได้ โดยมีผู้ใช้เฟสบุ๊คที่ชื่อว่าคุณ Dolly Praisuwan ได้มีการแชร์ข้อมูล ที่ได้รับการบอกจากเพื่อนที่อาศัยอยู่ใน อเมริกา เกี่ยวกับเรื่องราวของค่าใช้จ่ายที่ทางด้านของ พ่อ-แม่ ผู้เสียชีวิต จะต้องรับภาระในกู้ซาก รถ และร่างของลูกพวกเขาขึ้นมา เอาไว้ดังนี้..
“เพื่อนอยู่ Fresno California line มาเรื่องเด็กนักศึกษาที่ขับรถตกเหวที่ Fresno,California มีคนถามผมมากมายเพราะผมมีบ้านและไร่อยู่แถวนี้ ผมขอสรุปให้ฟังว่าดังนี้
1.เขาจะไม่เอาชีวิตของคนเป็นเจ้าหน้าที่กู้ภัย(จะช่วยจริงเฉพาะคนที่ยังไม่ตาย)ไปแลกกับคนตายแล้ว
2.ภูเขาที่นี่สูงชันมากถึง400ฟุต หรือ มากกว่าเป็นช่องเขาที่มีลมพัดแรงมากเป็นครั้งคราว บางครั้งความเร็วลมมากกว่าหนึ่งร้อยไมล์ต่อชั่วโมง เราเรียกว่า valley บางแห่งเราเรียกว่า Death Vally
3.กระแสน้ำที่มีความเร็วประมาณ200ไมล์ต่อชม.ที่เกิดจากหิมะบนภูเขาสูงหลอมละลายไหลลงยอดเขาสูง ลงมาข้างล่างด้วยความเร็วน้ำมีอุณหภูมิที่ติดลบ อาจจะพาซากรถและคนตายหายไปกับกระแสน้ำ(หากจะCopy กรุณาใสเครดิต)
4.ค่าใช้จ่ายในการกู้ภัยนี้สูงมาก ในขั้นตอนแรกฮ.ชินุกนี้บิน 1ชม. กินน้ำมันซึ่งเป็นน้ำมันอย่างดีประมาณชม.ละ350,000บาท หรือ $10,000 ต้องใช้เวลาปฎิบัติการถึง5ชม. ค่าน้ำมันอย่างเดียวเกือบ1.75 ล้านบาท ค่าหน่วยปฎิบัติการ ค่าชั่วโมงของเขา $375 ต่อชม. ต้องใช้เวลาการปฎิบัติการทางอากาศ8ชม. จำนวนหน่วยปฎิบัติการทั้งสิ้น36คน 36 คูณ 8 คูณ 8 คูณ 375 =$864,000 คูณ 35 = 30,240,000 บาท บวกค่าน้ำมันฮ.อีก2ล้านบาท ก็ประมาณ 1ล้านเหรียญสหรัฐครับท่าน หรือ 35 ล้านบาท ที่ช้าคือใครจ่ายครับ ถ้าท่านจ่าย งานก็เสร็จเร็ว งานนี้ไม่มีประกันนะครับ เพราะเด็กไม่ได้ซื้อเอาไว้ พ่อแม่จ่ายอ้วกแน่ครับ
5.เด็กขับรถโดยประมาทด้วยความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด
6.รถที่ขับไม่มีประกันรถชั้นหนึ่ง หรือ full coverage
7.เป็นรถเช่า
8.คิดว่าอ่านแล้วคงกระจ่างว่าทำไมถึงช้า
ประเด็นสำคัญต่อมาคือใครจะเป็นผู้จ่าย? รัฐบาลสหรัฐฯ รัฐบาลไทย หรือครอบครัวของผู้ประสบเหตุ? ประเด็นข้างต้นว่า ขึ้นอยู่กับการพูดคุยของทั้งสองรัฐบาล และเลือกใช้วิธีใดในการกู้ซาก เจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ในการลงไปหรือไม่ หากเป็นภาครัฐ และทีมที่ลงไปมี Swift water rescue technician (SRT) ในระดับที่เหมาะสม อาจจะไม่มีค่าใช้จ่าย หรือมีแต่น้อย เพราะเป็นสวัสดิการของรัฐบาลสหรัฐฯ ขณะที่ หากระดับ SRT ของภาครัฐไม่ถึง ต้องให้ทีมจากภาคเอกชนลงไปปฏิบัติการนั้น มีค่าใช้จ่ายอย่างแน่นอน และอาจสูงมาก