พระปิดตา พระอาจารย์ผัน วัดอินทราราม ปากเกร็ด นนทบุรี |
฿3333 |
ชื่อผู้ประกาศ : จ่าดี พระกรุ โทรศัพท์มือถือ : 081-9485299 ที่อยู่ : ปากเกร็ด |
พระ ปิดตา อจ.ผัน วัดอินทราราม สร้างปี 2517 ปลุกเสกนอกพรรษา องค์จะดูอวบอ้วนกว่าในพรรษาเล็กน้อย ราคาก็จะถูกกว่า พิมพ์ทรงคล้ายหลวงปู่กลิ่น เพราะท่านได้ถอดแม่พิมพ์มาจากปิดตาของหลวงปู่กลิ่น ทุกองค์จะมีแผ่นทองคำเปลว 100%ติดอยู่ตรงหน้าท้อง เป็นเอกลักษณ์ของท่าน เนื้อด้านในจะเป็นผงพุทธคุณผสมผงใบลานและว่านยาต่างๆ อจ.ผัน ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง เป็นพระปิดตาที่หายากมากมาก เพราะสร้างจำนวนน้อย ประวัติย่อ อจ.ผัน เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2458 ที่บ้านเลขที่ 15 หมู่ 4 ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เนื้อชาติไทย สัญชาติไทย โยมบิดาชื่อ นาดี โยมมารดาชื่อ นางปุย นามสกุล สวยที่สุด ในวันเด็กได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดทองสะอาด จนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อ 2472 วันที่ 13 มีนาคม 2477 ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดสะพานสูง ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยมีพระสุเมธาจารย์ (วอน) วัดปรมัยยิกาวาส อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูโสภณศาสนกิจ (กลิ่น)วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุ่น วัดศาลากุล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนได้นักธรรมตรี 2480 พร้อมกันนั้นได้ร่ำเรียนวิชาเวทมนตร์คถาต่างๆ จากหลวงปู่กลิ่น ซึ่งมีวิชาลงตะกรุดโสฬด วิชาทำผงสร้างพระปิดตาตลอดจนการทำน้ำพุทธมนต์ให้ศักดิ์สิทธิ์ฯ ในขณะนั้นที่วัดสะพานสูงมี หลวงพ่อทองสุขและหลวงพ่อเพ็ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ บวชเรียนมาก่อน ต้นปี 2490 ทางวัดอินทาราม ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดสะพานสูงนัก ผืนแผ่นดินเดียวกันแต่คนละคุ้งน้ำ ขาดเจ้าอาวาสปกครองวัด ท่านเจ้าคณะอำเภอปากเกร็ดเห็นว่าทางวัดสะพานสูงมีพระภิกษุที่ทรงคุณวุฒิหลาย รูปจึงขอให้หลวงปู่กลิ่น จัดศิษย์ให้หนึ่งรูปมาดูแล วัดอินทาราม ในขณะนั้น หลวงพ่อทองสุขและหลวงพ่อเพ็ง เป็นกำลังสำคัญในการเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สอนได้ทั้งชั้นตรี, โท , เอก จึงได้ให้ศิษย์คนเล็กคือ หลวงพ่อผัน ไปครองวัดอินทาราม ก่อนไปท่านได้ให้นาฬิกาปลุกเป็นที่ระลึก 1 เรือน พร้อมทั้งให้โอวาทว่า "ขอให้ท่านเที่ยงตรงดุจดังนาฬิกา วัดที่ 9 กุมภาพันธ์ 2490 ก็มีหนังสือ แต่งตั้งเจ้าอาวาสแก่ หลวงพ่อผัน ตามพระราชบัญญติคณะสงฆ์ วัตถุมงคลที่หลวงพ่อผัน ได้สร้าง 1. ตะกรุดโทนยันต์โสฬส 2. พระสมเด็จปกโพธิ์ 3. ล็อกเก็ตเป็นภาพถ่าย 4. เหรียญรูปเหมือน 5. พระปิดตา ศิษย์สายวัดสะพานสูง ส่วนมากจะมีชื่อเสียงโด่งดังทางสร้างพระปิดตา โดยได้ตำราวิธีการทำผงตลอดจนการปลุกเสกมาจากปรมาจารย์ หลวงปู่เอี่ยม ผู้รับทอดต่อมาคือหลวงปู่กลิ่น จากนั้นเป็นหลวงพ่อทองสุข และหลวงพ่อผัน สำหรับพระปิดตา หลวงพ่อผันท่านได้สร้างไว้เพียง 2 พิมพ์เท่านั้น คือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก จำนวนไม่กี่พันองค์ พิมพ์ใหญ่นั้น เลียนแบบของ อจ.คือ หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อผันท่านไม่เคยสร้างพระปิดตามาก่อนเลย จวบจนใกล้อายุครบ 60 ปี ต้นปี 2517 ท่านจึงได้ให้พระมหาด้วง, พระพิภพ สุภเจริญผล และพระเณรภายในวัดช่วยกันตำผงปูน ผงใบลาน ผสมน้ำมันตังอิ๋ว จากนั้นท่านได้นำผงพุทธคุณของหลวงปู่กลิ่นและผงพุทธคุณที่ท่านได้ทำไว้นำมา ผสม แม่พิมพ์ หลวงพ่อผัน ท่านมีพระปิดตาของหลวงปู่กลิ่น อยู่องค์หนึ่งได้ให้พระมหาด้วง ทำแบบแม่พิมพ์ พระมหาด้วง ได้นำเรียนไขใส่กล่องไม้ขีด แล้วใช้พระปิดตาแม่แบบกดลงไปทั้งหน้าหลัง ข้างละกล่อง จากนั้นจึงนำผงที่เตรียมไว้มากดลงในแม่พิมพ์เทียนไข เมื่อองค์พระแห้งตัวจึงมีขนาดย่อกว่าองค์แม่บบทุกองค์ สร้างครั้งแรกปลุกเสกในพรรษา พ.ศ. 2517 เนื้อพระ ออกสีดำเข้ม เพราะใส่ผงใบลานลงไปเป็นจำนวนมาก สร้างได้พิมพ์ใหญ่ 1,000 องค์ พิมพ์เล็ก 1,500 องค์ เมื่อผึ่งลมจนแห้งดีแล้วจึงจุ่มรัก ปิดทองไว้ที่พระอุระขององค์พระทุกองค์ทองที่ปิดครั้งแรกนี้เป็นทองนอกคุณภาพ ไม่ใคร่ดีจะหนาและไม่แวววาว แต่ติดแน่นกับรัก และในการสร้างพระปิดตาครั้งแรกนี้พระเณรที่ช่วยกันทั้งหมดประมาณ 20 รูป ได้ขอชานหมากหลวงพ่อ พิมพ์พระปิดตาพิมพ์ใหญ่ เนื้อชานหมาก ไว้ 20 องค์ จุ่มรักปิดทองที่พระอุระไว้ใช้กันเอง จากนั้น หลวงพ่อผัน ก็ปลุกเสกตลอด 3 เดือน ครั้งออกพรรษาแล้ว ประชาชนผู้ศรัทธาต่างก็มาขอจากหลวงพ่อไปจนหมด ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ก็มาขอให้หลวงพ่อทำอีก หลวงพ่อท่านขัดศรัทธาไม่ได้จึงให้ศิษย์ช่วยทำขึ้นอีก สร้างครั้งที่สองปลุกเสกนอกพรรษา 2517 เนื้อพระ ออกสีเทาเพราะผลใบลานเหลือน้อย สร้างพระปิดตาพิมพ์ใหญ่ได้ 1,000 องคื พิมพ์เล็ก 1,500 องค์ จุ่มรักปิดทองเหมือนครั้งแรก คราวนี้ทองคำเปลวที่ปิดที่พระอุระเป็นทองร้อยเปอร์เซ็นต์ เบาบาง องค์ที่ไม่ได้ผ่านการจับต้องทองจะสุกปลั่ง ส่วนองค์ที่ผ่านการใช้ทองจะหลุดหายไปเลยหรือเป็นรอยจางๆ ลักษณะพระปิดตาพิมพ์ใหญ่ เป็นพระปิดตาลอยองค์ นั่งขัดสมาธิราบขาขวาอยู่บนขาซ้าย มือที่ปิดตายกสูงระดับหน้าอกศอกกาง มือปิดตาเสมอหน้าผากเห็นรอยปลายมือทั้งสอง องค์พระชะลูดพระเศียรโล้น ท้องป่องเล็กน้อย