11904 เหรียญหล่อหลวงพ่อแพ บารมี 87 วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี เนื้อเงิน 8

฿500
รายละเอียดสินค้า
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง



ขอบคุณภาพจาก  http://kanchanapisek.or.th

ชีวประวัติ   
                           
หลวงพ่อแพ กำเนิดใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปี มะเส็ง ณ ต.สวนกล้วย อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี บิดาของหลวงพ่อชื่อ นายเทียน มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้อง ร่วมสายโลหิต 4 คน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง แต่เมื่อท่านได้อายุ 8 เดือน มารดาก็เสียชีวิต หลังจากที่มารดา ท่านจากไปแล้ว นายบุญ ขำวิบูลย์ ผู้เป็นอา และ นางเพียร ภรรยา จึงได้ได้ขอหลวงพ่อมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

การศึกษา   
                           
เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี พ่อแม่บุญธรรม ได้นำท่านไปฝาก กับ สมภารพันธ์ เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ท่านได้ศึกษาจนพอรู้หนังสือบ้าง ประมาณ 3 เดือน สมภารจึง ให้พระอาจารย์ ป้อม จันทสุวัณโณ ซึ่งเป้นพระลูกวัดใ ที่มีความรู้ทางภาษาไทยและ ขอมอย่างแตกฉาน ทำให้หลวงพ่อมีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ ทางด้าน ภาษา คัมภีร์พระธรรม พระสูตร พระมาลัย และเขียนจารึกอักษรขอมได้อย่างงดงาม
                             
ปี พ.ศ.2461 เพื่อนของบิดาบุญธรรมของท่าน มีความประสงค์ ให้ส่งหลวงพ่อมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เพื่อ มาศึกษา ต่อ และ มาอยู่เป็นเพื่อนกับลูกชายของตนที่วัดชนะสงคราม บิดามารดาของหลวงพ่อจึงได้บอกกล่าวความให้ท่านทราบ ท่านจึงรับปากว่าจะไปเรียนต่อตามความประสงค์ เมื่อมาอยู่วัดชนะสงคราม หลวงพ่อจึงได้เรียน สูตรสนธิ (อัตโถ อักขระสัญญโต ฯ) กับพระอาจารย์สม อยู่ 1 ปี ต่อมาท่านเห็นว่าบาลีไวยากรณ์ง่ายกว่า จึงได้เปลี่ยนไปเรียน บาลีฯ ที่วัดมหาธาตุฯ
                     
ต่อมาปี พ.ศ. 2463 ท่านมีอายุได้ 16 ปี ได้เดินทางกลับ จ.สิงห์บุรี เพื่อเยี่ยม บิดาผู้ให้กำเนิดและบิดามารดาบุญธรรม ๆของท่านเห็นว่าท่านโตแล้ว จึงได้ร่วมบรรพชาเป็นสามเณร ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2463 โดยมี พระอธิการพันธ์ เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้น ท่านก็เดินทางกลับมายังวัดชนะสงคราม อยู่กับ พระอาจารย์เทศ คณะ10 ต่อมาไม่นานทางบ้านก็ส่งข่าวมาบอกว่า โยมเทียน บิดาผู้ให้กำเนิดถึงแก่กรรม จึงเดินทางกลับไปสิงห์บุรี เพื่อ จัดการศพบิดา แล้วกลับมา อยู่ที่คณะ 10 เช่นเดิม
                             
ปี พ.ศ.2466 หลวงพ่อสอบนักธรรมตรีได้ (ในสมัยนั้นผู้เข้าสอบ ต้องอายุ 19 ปีจึงจะมีสิทธิ์ เข้าสอบได้)
                             
ปี พ.ศ.2468 สามารถสอบเปรียญธรรม 3 ประโยค ได้ตั้งแต่เป็นสามเณร นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก จากนั้นหลวงพ่อได้ไปเล่าเรียนที่ วัดมหาธาตุฯ โดยเป็นศิษย์ ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
                             
ปี พ.ศ. 2469 ท่านอายุ ได้ 21 ปี จึงอุปสมบท อย่างสมเกียรติสามเณรเปรียญ ซึ่งในสมันนั้น หาได้ไม่มากนัก เมื่อวันที่ 21 เมษายน ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งภายหลังอุปสมบทแล้วหลวงพ่อได้กลับมาอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และในปีเดียวกันหลวงพ่อนักธรรมชั้นโทได้
                             
ปี พ.ศ. 2470 หลวงพ่อสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคได้ แต่หลังจากนี้ไม่นานหลวงพ่อ ก็จำเป็น ต้องหยุดศึกษา เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสายตาเนื่องจาก จะเห็นได้ว่า ท่านได้มีวิริยะ อุตสาหะในการศึกษาตั้งแต่เด็ก โดยถือว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อปฏิบัติธรรมให้ได้ถูกต้อง ทำให้หลวงพ่อคร่ำเคร่ง ในการอ่านหนังสือ ในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ

เพราะในสมัยนั้นไฟฟ้ายังไม่มีใช้ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน หรือตะเกียง นัยน์ตา ซึ่งได้ตรากตรำจากการดูหนังสือมากเกินไป เกิดอาการตาอักเสบแดง ปวดแสบ นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ จึงแนะนำให้ท่านหยุด ใช้สายตา มิฉะนั้นนัยน์ตาอาจจะพิการ จึงเป็นที่เสียดายเป็นอย่างยิ่งของท่านเพราะหลวงพ่อ ตั้งใจไวมุ่งมั่นในการศึกษามาก ระหว่าง ปี พ.ศ.2471-2472 ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนบาลี โดยสอนตามคณะต่างๆ ของวัดชนะสงคราม รับเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง
                   
ปี พ.ศ. 2474 เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ชาวบ้านพิกุลทองและจำปาทองได้ร่วมกันปรึกษา ที่จะขอให้ท่านมารับเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ขณะนั้นหลวงพ่อได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบิดาและญาติพี่น้อง ซึ่งท่านได้พักที่วัดพิกุลทอง ท่านจึงเห็นว่า เป็นวัดพิกุลทองบ้านเกิดเมืองนอน ตอนนี้ เสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งสร้างมา ตั้งแต่ พ.ศ.2440

และขณะนั้นท่านได้หยุดพักรักษานัยน์ตา ประสงค์จะพักผ่อนหาความสงบ คิดว่าเมื่อตาหายดีแล้ว ก็จะศึกษาบาลีลันักธรรมต่อตามความตั้งใจเดิม จึงรับปากว่าจะมาอยู่วัดพิกุลทอง ในระหว่างที่ยังว่างเจ้าอาวาสอยู่ปี พ.ศ. 2482 คณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลถอนสมอ และในปีเดียวกันหลวงพ่อพิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก พระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรมแต่ล่ะครั้ง ต่างกลัวไม้หลังคากระเบื้องหล่นถูกศีรษะ ไม่มีจิตเป็นสมาธิ จึงเริ่มคิดที่จะปฏิสังขรพระอุโบสถ

เริ่มเรียนจิตศาสตร์    
                       
เมื่อท่านอายุประมาณ 24-25ปี สมัยยังศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านได้เริ่มสนใจในทางปฏิบัติ เพื่อหา ความสงบทางใจ จึงเข้าอบรมและปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสำนัก พระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์ท่าเตียน) ได้ความรู้ในแถวทางปฏิบัติมาพอสมควร และยังได้ศึกษาจากท่านอาจารย์พระครูใบฎีกา เกลี้ยง วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นพระฐานานุกรม และศิษย์ ผู้ใกล้ชิด สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ (ซึ่งทางเชี่ยวชาญ ทางด้าน สร้าง-ลบผง พุทธคุณ พระครูใบฎีกา เกลี้ยงท่านได้เมตตาสั่งสอนอบรมและมอบตำราเกี่ยวกับจิตศาสตร์วิทยาคมให้

ต่อมาทราบว่าในท้องที่ อำเภอบางระจันมีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมอยู่รูปหนึ่ง มีคนนับถือและเกรงกลัวมาก เพราะวาจาศักดิ์สิทธิ์ ชื่อหลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ หลวงพ่อจึงได้เดินทาง ไปฝากตัวเป็นศิษย์จนมี ความสามารถและเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อศรี เป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อเล่าว่า หลวงพ่อศรี เมตตาสอนวิทยาคมให้อย่างไม่ ปิดบังอำพราง และในขณะที่ก่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อศรีท่านก็แนะนำให้ หลวงพ่อแพ สร้างแหวน และทุกครั้งที่พลวงพ่อแพท่านได้สร้างเสร็จ ท่าจะนำไปถวายหลวงพ่อศรีปลุกเสก (หลวงพ่อแพ ท่านถามหลวงพ่อศรีว่าสร้างแล้วคนนิยมกันไหม หลวงพ่อศรี ท่าน บอกว่านิยมมาก ให้สร้างมากๆ ท่านจะสนับสนุน) ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อศรีนี้เอง ทำให้หลวงพ่อได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ได้สำเร็จ ในเวลา 2 ปีเศษ

หล่อสมเด็จทองเหลือง   
                       
เมื่อหลวงพ่อมีบารมีมากขึ้นตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด วิหาร ถาวรวัตถุต่างๆมากมายหลายวัด และ เมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 ทางวัด แถบ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ก้อได้นิมนต์ท่านร่วมงาน หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัด ที่หอสวดมนต์ โดยมีคนหลายนอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่คงเข้าใจว่าเป็นเงิน

ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่าม มีเพียงของเล็กๆน้อยๆ แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้ และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก ญาติโยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้นพระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่าได้นำไปขายให้บุคคลไม่ทราบชื่อ ไม่สามารถติดตามคืนได้หลวงพ่อเล่าว่าท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจาก อาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อนด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เป็นอย่างยิ่ง

ทำให้หลวงพ่อ อธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จ ขึ้นใช้เอง และแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา ในปี 2494 ประมาณเดือน 6 โดยนำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้ โบสถ์หลังเก่า ได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธี นำมาหล่อเช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก ตะบันหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์   
                   
ในปี พ.ศ. 2484 หลวงพ่อได้รับ สมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตรตำแหน่ง พระครูผู้จัดการทางประปริยัติธรรมและพระธรรมวินัย ที่ พระครูศรีพรหมโสภิต

ในปี พ.ศ. 2486 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

ในปี พ.ศ. 2506 ได้รับตำแหน่ง ให้รักษาการเจ้าคณะอำเภอท่าช้าง และ ปี พ.ศ.2509 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอท่าช้าง

ไปประเทศอินเดีย    
                     
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่คับคั่ง ไปด้วยศิษยานุศิษย์ เกือบจะเต็มศาลา การเปรียญ วันนั้นหลวงพ่อได้กล่าวออกมาด้วยความปิติต่อชุมชนว่า การเดินทางไปอินเดียครั้งนี้ เสมือนกับ บุตรไปเยี่ยมภูมิประเทศบิดา เพื่อเป็นการถวายสักการะ เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณ ในเมื่อมีโอกาสก็ควรจะกระทำ การเดินทางในครั้งนี้จะประกอบกิจเป็นกรณีพิเศษ 2อย่างคือ

ประการที่หนึ่ง เพื่อตั้งใจนมัสการสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 ตำบลอันได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่ปฐมเทศนา และ สถานที่ปรินิพพาน ซึ่งนับว่าเป็นมหากุศลพิเศษ

ประการที่สอง เพื่อเดินทางไปสร้าง พระสมเด็จรุ่นพิเศษ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อมวลสารประกอบด้วยผงวิทยาคม ที่(ได้ลบผง)สะสมไว้แล้ว จะผสมดินที่พระพุทธเจ้าของเรา ประสูติ ตรัสรู้ และปฐมเทศนาด้วย

เวลา 14.00น. หลวงพ่อเข้าสู่พระอุโบสถ นมัสการพระประธานแล้ว ไปนมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ณ วิหารสมเด็จของวัด แล้วเดินทางเข้ากรุงเทพ พักที่วัดชนะสงคราม คณะ 10 หนึ่งคืน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ถึง ประเทศอินเดีย จากนั้นเที่ยวชมสถานที่ต่างๆของอินเดีย และเดินทางสู่ พุทธคยาในตอนค่ำ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ เวลาเช้า ได้เดินทางไป นมัสการต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ ตรัสรู้ พหลวงพ่อและคณะได้นมัสการด้วยความเคารพอย่างสูงแล้ว ได้เริ่มผสมผงเพิ่อพิมพ์ สมเด็จปรกโพธิ์เป็นปฐมฤกษ์ หลวงพ่อท่านได้นั่งสมาธิจิตรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย เสกพิมพ์พระปรกโพธิ์ แล้วจึงกดพิมพ์ ด้วยจิตที่มุ่งส่งกระแสจิตเพื่อบรรจุในองค์พระ ณ ควงไม้โพธิ์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ว่าพิมพ์ปรกโพธิ์ที่สร้างขึ้น มีมงคลฤกษ์ ณ สถานที่ตรัสรู้ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ก่อให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้นำไปบูชา

เวลา 11.00 เดินทางกลับมาที่วัดไทยพุทธคยา เพื่อฉันภัตตาหารเพล พักผ่อนพอสมควรแล้ว ตอนบ่าย หลวงพ่อได้เดินทางไปที่ ณ ควงต้นศรีมหาโพธิ์อีกครั้งหนึ่งเพื่อนมัสการ เป็นคำรบสองและปลุกเสกพิมพ์พระ และผงที่ผสมในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์โดยประสงค์เพื่อจะนำกลับมาเพื่อเป็นชนวนผสม สร้างพระให้พอเพียงแก่ผู้มีจิตศรัทธาในตัวหลวงพ่อ จะได้นำไปบูชาสักการะและติดตัว เพื่อคุ้มครองทุกหนทุกแห่ง และหลังจากนั้นหลวงพ่อได้เดินทางไปยัง สถานที่ปฐมเทศนา ปรินิพพาน และประสูติ ตามลำดับ และยังได้เดินทางไปตามสถานที่สำคัญต่างๆอีกมากมาย ท่านได้เดินทางกลับประเทศไทย ในวันที่ 9 มี.ค. 2514 ใช้เวลาเดินทางรวม 13 วัน

บูรณะค่ายบางระจัน   
                   
ค่ายบางระจันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประจักษ์ แก่ประชาชนท้องถิ่นและผู้ไปเที่ยวชมมากต่อมาก โดยเฉพาะก้อนอิฐ ซึ่งแต่ละก้อนจะประทับดอกจันทร์ไว้ ชาวบ้านเกรงกลัวเป็นอย่างยิ่งและต้นไม้แดง ซึ่งมีมากบริเวณค่าย ไม่มีใครสามารถตัดได้ แม้แต่กิ่งแห้งเหี่ยวหักตกลงมา ชาวบ้านหรือแม้กระทั่งพระในวัด นำไปเป็นฟืนหุงต้มยังวิบัติ และสิ่งสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ อีกอย่างหนึ่งก็คือสระน้ำหน้าวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ สมัยก่อนมีปลาชุมคลักอยู่ก้นบ่อ ผู้ใดจับไปกินจะเกิดอาเพศต่างๆ แม้น้ำในบ่อเคยมีคนนำไปเติมหม้อน้ำรถ หม้อน้ำก็ยังระเบิด

ชาวบ้านบางระจันจึงพร้อมใจยอมรับกันว่า มีแต่หลวงพ่อเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำในการบูรณะครั้งนี้ โดยแต่เดิมท่านก็ได้ดูแลมาตั้งแต่ พ.ส.2488 จนในปีพ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติ แต่งตั้งให้ท่านเป็นกรรมการฟื้นฟูและบูรณะค่ายบางระจัน และปลูกต้นโพธิ์ อีก 8 ต้น รวมกับ ต้นเก่าที่มีอยู่แล้ว อันเป็นสัญลักษณ์ของวักโพธิ์เก้าต้น

ไปศรีลังกา    
                 
วันที่ 21 พฤษภาคม 2515 หลวงพ่อท่านได้เดินทางไปกับคณะพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เพื่อไปร่วมประชุมและสังเกตการณ์ โดยมีพุทธศาสนิกชนจากหลายประเทศเข้าร่วมประชุม ณ ประเทศศรีลังกา ซึ่งการเดินทางครั้งนี้หลวงพ่อแพท่านได้ประทับพิมพ์พระสมเด็จฐานสิงห์เป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2515 ณ วัดศรีมหาโพธิ์

สร้างพระอุโบสถหลังใหม่   
                   
หลวงพ่อแพ ท่านได้ตัดสินใจสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ในวันเพ็ญเดือน 3 ตรงกับวันมาฆบูชา เพื่อให้ เพียงพอสำหรับ พระภิกษุและสามเณรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และในวันสำคัญในศาสนา ประชาชน จะได้มีโอกาสเข้าร่วม บำเพ็ญกุศลในพระอุโบสถได้มากขึ้นด้วย แต่อุปสรรคสำคัญก็คือ การหาเงินปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งท่านต้องใช้งบจำนวนมาก ซึ่งท่านได้เตรียมพระสมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งท่านได้ตั้งใจสร้างล่วงหน้าไว้ ณ ประเทศอินเดีย เพื่อมอบให้แก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถ จึงได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2515 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปีเศษ เป็นพระอุโบสถที่หลังใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดที่มีอยู่ในภูมิภาค เป็นปูชนียสถานที่มีการแกะสลัก ลวดลายประตูหน้าต่าง อย่างวิจิตรงดงามตระการตา เป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมของผู้พบเห็น

อีกทั้งยังสร้างพระใหญ่ปางประทานพรใหญ่ที่สุดในประเทศ หน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ใช้ งบประมาณก่อสร้างประมาณ 20 ล้านบาท ด้านการศึกษาท่านได้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำการเปิดสอนแผนกธรรมและภาษาบาลีขึ้นในวัดพิกุลทองตั้งแต่ ปี2475 อีกทั้งหลวงพ่อยังได้พัฒนาและการก่อสร้างศาสนสถาน วัดอื่นๆอย่างมากมาย รวมทั้งเป็นองค์อุปถัมภ์หาทุนก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี เช่นล่าสุดท่านได้หาทุนก่อสร้างอาคาร “หลวงพ่อแพ เขมังกโร 94 ปี สูง 9 ชั้น งบก่อสร้าง 120 ล้านบาท


เป็นพระราชาคณะ   
                   
ในปี พ.ศ.2521 ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระสุนทรธรรมภาณี
                   
ในปี พ.ศ. 2525 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
                   
ในปี พ.ศ. 2530 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระราชสิงหคณาจารย์”   
                   
ในปี พ.ศ. 2535 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระเทพสิงหบุราจารย์”
                 
ในปี พ.ศ. 2539 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชครบ 50 ปี (พระราชพิธีกาจญนาภิเษก) ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระสมณศักดิ์ พระสงฆ์ 59 รูป หลวงพ่อแพก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระธรรมมุนี”
                   
ในระยะหลัง หลวงพ่อได้งดรับกิจนิมนต์ โดยคำแนะนำจากผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวเองได้ รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และโรคชรา จนเมื่อ วันที่24 ส.ค. 41 ทางคณะแพทย์ไดเห็นสมควรนำหลวงพ่อเข้าพักรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากตรวจพบว่าหลวงพ่อ เป็นโรคปอดอักเสบ ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนอาการดีขึ้น ต่อมาในวันที่ 7 ก.ย.41 ท่านอาการทรุดลง จนกระทั่งเวลา 01.30 น. ของวันที่ 8 ก.ย. 41 ท่านได้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ทางคณะแพทย์ได้ทำการช่วยจนหลวงพ่อฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ และทางได้ถวายดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น
         
จนกระทั่งวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 เวลา 12.36 น. หลวงพ่อท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ ห้อง 901 ชั้น 9 อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร โรงพยาบาลสิงห์บุรี สิริอายุ 94 ปี 73 พรรษา


surepra.comชัวร์ำพระ.คอม
สินค้าแนะนำ
บทความ