รายละเอียดสินค้า
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อเตียง วัดเขาลูกช้าง พิจิตร
พระครูพิพัฒน์ธรรมคุณหรือหลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้างอดีตพระคณาจารย์ชื่อดังของเมืองพิจิตรศิษย์สายหลวงพ่อเงินวัดบางคลานโดยสืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อพิธวัดฆะมังวัตถุมงคลที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักคือตะกรุดแต่เหรียญรุ่นแรก, รูปหล่อรุ่นแรกปัจจุบันเริ่มหายากสนนราคาปรับสูงขึ้นตามลำดับ
หลวงพ่อเตียงเกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2444 ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น 13 ค่ำเดือน 3 ปีฉลูที่บ้านดงกลางตำบลดงปาคำอำเภอเมืองจังหวัดพิจิตร
อุปสมบทเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2466 ณพัทธสีมาวัดดงกลางโดยมีพระครูศิลธรารักษ์ (ยิ้ม ทัดเที่ยง) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงและเจ้าคณะจังหวัดพิจิตรเป็นพระอุปัชฌาย์เจ้าอธิการปุ่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระปลัดเป้าเป็นพระอนุสาวนาจารย์ศึกษาพระธรรมวินัยอันเป็นธรรมเนียมพระนวกะหรือผู้บวชใหม่
เคยไปเรียนแพทย์แผนโบราณกับหมอแก้วท่าบัวทองที่อำเภอโพธิ์ประทับช้างด้านพุทธาคมไสยเวทย์เบื้องต้นได้ศึกษาจากเจ้าอธิการปุ่นซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านจากนั้นได้ไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงพ่อพิธ วัดฆะมังรวมถึงพุทธาคมไสยเวทย์และสรรพศาสตร์ต่างๆจนมีความชำนาญและเชี่ยวชาญสามารถนำมาใช้และปฏิบัติได้เข้มขลัง
ตลอดเวลาในสมณเพศท่านเป็นผู้ยึดมั่นเคร่งครัดพระธรรมวินัยอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัยสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากและเอาใจใส่ในการพระศาสนาต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพิพัฒน์ธรรมคุณ เมื่อย่างเข้าสู่วัยชราบั้นปลายของชีวิตท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคาพยาธิต่างๆต้องเข้า-ออกโรงพยาบาลเป็นประจำ
วันที่ 12 มีนาคมพ.ศ. 2520 เวลา 09.20 น. ท่านได้ถึงแก่มรณภาพรวมสิริอายุ 76 ปี 53 พรรษา
วัตถุมงคลหลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง
วัตถุมงคลของท่านมีหลายชนิดแต่ที่ได้รับความนิยมรู้จักแพร่หลายคือตะกรุดซึ่งตะกรุดของท่านอั่วหรือหลอดด้านในจะเป็นอั่วทองแดงนอกจากตะกรุดเนื้อตะกั่วแล้วยังมีชนิดม้วนรวมกันสามชั้นคือตะกั่วทองเหลืองทองแดงหากมีการถักเชือกลักษณะการถักคล้ายกับของหลวงพ่อพิธวัดฆะมังมีทั้งลงรักและไม่ลงรักรวมถึงการไม่ถักเชือกอานุภาพในตะกรุดของท่านเด่นทางการคงกระพันชาตรี
การลงอักขระเลขยันต์ในตะกรุดเฉพาะยันต์ด้านในมีชื่อเรียกตามตำราพิชัยสงครามว่ายันต์ลงตะกรุดคู่ชีวิตหรือยันต์อาวุธพระพุทธเจ้าลงด้วยพระคาถาสัจจาธิษฐานของพระพุทธเจ้าว่าอะสิสัตติธนูเจวะสัพเพเตอาวุธานิจะภัคคะภัคคาวิจุณ
ณานิโลมังมาเมนะผุสสันติเป็นสำคัญ
หนุนด้วยธาตุทั้งสี่บารมีสามสิบทิศล้อมรอบด้วยอิติปิโสแปดทิศนวหรคุณและไตรสรณคมณ์พร้อมทั้งยังมียันต์ประทับหลังตะกรุดซึ่งยันต์ประทับหลังนี้ท่านได้เพิ่มเติมยันต์ที่เห็นว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ลงไปอีกเพิ่มจากต้นตำรับเดิม
ชัวร์ำพระ.คอมsurepra.com