14917 เหรียญพระรัตนธัชมุนี วัดมหาธาตุวรวิหาร นครศรีธรรมราช ปี 2507 เนื้อทองแดง 39

฿450
รายละเอียดสินค้า

ประวัติพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฐาภรโณ)

160
 

ชื่อ พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฐาภรโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรวิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต)

1. สถานะเดิม
พระรัตนธัชมุนี (แบน) นามเดิม แบน ฤทธิโชติ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2427 ที่ บ้านดอนทะเล ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาชื่อหมื่นทิพย์จักษุ (ขาว ฤทธิโชติ) มารดาชื่อ นางเป็ด ฤทธิโชติ (ธรรมิกกุล) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้บรรพชาอุปสมบทที่นทีสีมา (สีมาน้ำ) ในคลองปากพูน หน้าวัดท่าม่วง หมู่ที่ 2 บ้านดอนทะเล ตำบลปากพูน ได้รับขนานนามว่า “คณฐาภรโณ”

2. การศึกษา

2.1 ชั้นประถม ได้เข้าศึกษาอักษรสมัยภาษาไทย เรียนหนังสือวัด จนจบชั้นประถมเทียบเท่าประถมปีที่ 4
2.2 การศึกษาพระธรรมวินัย พ.ศ. 2448 เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เข้าศึกษาพระธรรมวินัย ในสำนักพระรัตนรัชมุนี (ม่วง) ที่วัดท่าโพธิ์ พ.ศ. 2459 เข้า ศึกษาอบรมในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ สอบได้นักธรรมชั้นตรีในปีเดียวกัน และสอบได้เปรียญ 3 ประโยค ในสำนักเรียนวัดราชาธิวาสวิหาร ใน พ.ศ. 2456 ต่อมาใน พ.ศ. 2458 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ในสำนักเรียนเดิม และพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) ได้หยุดสอบ เพราะถือคติโบราณที่ว่าไม่ให้เหนืออาจารย์ คือ พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) ซึ่งได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
2.3 การศึกษาหนังสือไทย พ.ศ. 2447 ได้ เข้าเรียนหนังสือไทยแผนกวิชาครู ตามหลักสูตรของมหามกุฎราชวิทยาลัย ในสำนักพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) ที่วัดท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำเร็จวิชาหนังสือไทย ชั้นฝึกหัดครูมูล จากสำนักวัดท่าโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2448

ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ

1. ได้รับสมณศักดิ์
1.1 ตำแหน่งพระปลัดฐานานุกรมของพระอริยกวี (เซ่ง) วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพ ในปี 2454
1.2 เป็นพระครูประสาทพุทธรูปวิตร ฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ วชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2457
1.3 พระครูปลัดศีลวัฒน์ ฐานานุกรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พระรัตนธัชมุนี ม่วง) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชและปัตตานี ใน พ.ศ. 2463
1.4 พระครูปลัดศรีธรรมวัฒน์ ฐานานุกรมของพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชและปัตตานี ใน พ.ศ. 2466
1.5 พระครูเหมเจติยานุรักษ์ ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. 2468
1.6 พระศรีธรรมประสาธน์ มหาธาตุเจติยานุรักษ์ สังฆปาโมกข์ ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นราช ในนามเดิม และใน พ.ศ. 2499 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในนามเดิม
1.7 เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระรัตนธัชมุณีศรีธรรมราช ธรรมสาธก ตรีปิฏกคุณาลังการ ศีลสมาจาก วินัยสุนทร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี ใน ปี พ.ศ. 2505

2. ผลงานที่สำคัญ
2.1 การพัฒนาศานาบุคคล
พระ รัตนธัชมุณี (แบน) เป็นผู้มีเมตตา สร้างสรรค์บุคคลให้ได้รับความเจริญรุ่งเรือง ให้การศึกษาอบรม แนะนำ โดยเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลี สำนักเรียนวัดราชาธิวาสวิหาร สำนักเรียนวัดพิชยญาติการาม สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ในกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นครูที่สำนักวัดท่าโพธิ์ วัดมเหยงค์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อีกทั้งยังคอยดูแลให้การสงเคราะห์เอื้อเฟื้อด้วยปัจจัยลาภและธรรม จนมีศิษย์ทั้งสายบรรพชิต และสายคฤกัสถ์ ได้รับความสำเร็จในชีวิตและมีความก้าวหน้า ตั้งตนให้มั่นคงเป็นหลักฐาน เป็นจำนวนมาก
2.2 การพัฒนาศาสนสถานและศาสนวัตถุ เมื่อได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส เป็นเจ้าคณะ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถานที่ชำรุดให้คงสภาพดีขึ้น ได้สร้างวัดและแนะนำให้ผู้อื่นสร้างวัดขึ้นในสถานที่ที่ควรสร้างเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น
1) บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จัดการให้บูรณปฏิสังขรณ์ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ พระวิหารหลวง พระระเบียง พระวิหารภูตเถร (พระแอด) พระวิหารสามจอม วิหารทับเกษตร วิหารตามศาลา สร้างกุฏิไม้ 1 ชั้น รวม 7 หลัง สร้างหอระฆัง สร้างถนนระหว่างพระเจดีย์บริวาร ภายในบริเวณพระบรมธาตุเจดีย์ สร้างศาลาพระรัตนธัชมุนี และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ภายในบริเวณวัดอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ใช้เป็นสถานที่ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลี
2) บูรณะปฏิสังขรณ์วัดมเหยงค์ โดยปรับปรุงเสนาสนะทั่วทั้งวัด สร้างกุฏิเจ้าอาวาส เป็นต้น
3. เป็น พระนักเทศน์ที่มีความสามารถ จนได้รับการยกย่องเป็น “พระคณาจารย์โททางเทศนา” เพราะมีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากหากมีเวลาว่างพระรัตนธัชมุนี (แบน) จะอ่านตำราทางพระพุทธศาสนา สารคดี และข่าวสารต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ การแสดงพระธรรมเทศนา จึงแสดงโดยปฏิภาณ มีคารมคมคาย ชวนให้ผู้ฟังตั้งอกตั้งใจฟัง ถนัดทั้งการแสดงธรรมรูปเดียว และแสดงธรรมโดยปุจฉาวิสัชนา 2 ธรรมาสน์ การแสดงธรรมทุกกัณฑ์ มีเหตุมีผลมีอุบายที่จะแก้ความผิดให้เป็นความถูก แก้ความไม่เหมาะสมให้เป็นความเหมาะสม เช่น เทศน์สอนคนตระหนี่ถี่เหนียวให้ยินดีในการสละบริจาค ก็จะแสดงธรรมเรื่อง “เงินติดคุก” แก้สมภารเจ้าวัดซึ่งชอบสั่งสมบริขาร ก็แสดงธรรมจึง “สมบัติไล่สมภารออกจากห้อง” ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 – 2521 เมื่อ เป็นพระคณาจารย์โท ฝ่ายธรรมถึก ได้จาริกไปแสดงพระธรรมเทศนาอบรมประชาชนทั่วภาคใต้ อีกทั้งยังจัดให้มีการประกอบศาสนกิจ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จัดการฝึกอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนในโรงเรียนในเขตปกครองเป็นประจำ

 

พระรัตนธัชมุนีได้มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2521 ตลอดชีวิตของท่านเป็นเวลายาวนานถึง 95 ปี พรรษา 75 ท่านได้ทุ่มเทให้กับพระพุทธศาสนา



www.surepra.comชัวร์พระ.คอม
สินค้าแนะนำ
บทความ