หลวงพ่อพุทธวงค์ พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสองแควพิษณุโลกมาเนิ่นนาน
หลวงพ่อพุทธวงค์ เหรียญที่ผมนำมาลงนี้มีตำนานและเก่าแก่พอสมควรโดยที่ไม่ค่อยมีใครสนใจเลย เป็นเหรียญปีลึกอีกเหรียญนึงที่ถูกสร้างในการจัดงานสมโภชหลวงพ่อพุทธวงค์ พ.ศ. 248กว่าๆ ส่วนการปลุกเสกนั้นย่อมมีพระเกจิเก่งในยุคนั้นร่วมพีธีแน่นอน เป็นเหรียญดีอีกเหรียญนึงที่ไม่น่าลืมและน่าขึ้นคอเสริมดวงเสริมบารมีเป็นอย่างมากดีเข้มขลัง ของดีของเก่าพระดีๆพระบ้านๆยังมีอีกมายมายที่กำลังจะถูกมองข้ามในประเทศไทยเพราะไม่มีใครให้ความสำคัญและสืบหาประวัติมาให้ศึกษาต่อ สนใจแต่อันแพงๆฮิตๆโดยที่มองข้ามของดีที่อยู่รอบๆตัวเองตลอดมา หากไม่ใส่ใจต่อไปลูกหลานๆก็จะลืมและไม่มีให้ใช้ไม่มีให้เห็น
รายนามเจ้าอาวาส วัดกระบัง วัดกระบังมังคลาราม (ที่สามารถสืบค้นได้)
หลวงพ่ออ้น
หลวงตาเก๊า
หลวงตาเกิด
พระอธิการเชย
พระครูพรหมพรตบริหาร ([3]น้อย) ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
พระอาจารย์โอ
หลวงตาขำ
พระมหาเฉื่อย
พระพิศาลธรรมภาณี (เชื้อ)
หลวงตาแจง
พระอธิการสำราญ ขนฺติธโร
พระอาจารย์อุดมศักดิ์ ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส
พระจำลอง ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส
พระอธิการเฉื่อย ปญฺญาวุฑฺโฒ
พระมหาเฉลียว ฐิตวณฺโณ
พระครูสุมณฑ์ธรรมกิจ (เอนก จนฺทโก)
พระครูสมุห์ วีระชัย อธิปุญฺโญ
หลวงพ่อพุทธวงค์พระพุทธชินราช วัดกระบัง พิษณุโลก
รูปแบบของพระพุทธรูปองค์นี้มีความงดงามเป็นที่จดจำจนกลายเป็น “ไอคอน” ของพระพุทธรูปไทย สามารถพบได้ในอุโบสถทั่วประเทศไทย ก่อนการเข้ามาของเทพที่นั่งชันเข่ากวักมือเรียกทรัพย์ ถ้ากล่าวถึงในแง่ของรูปแบบศิลปะ พระพุทธชินราชถูกจัดให้เป็นพระพุทธรูปแบบสุโขทัยในหมวดเดียวกับ พระศรีศาสดาในวิหารวัดบวรนิเวศ และพระศรีศากยมุนี ณ วัดสุทัศน์ฯ พระพุทธรูปกลุ่มนี้จะสร้างขึ้นจากสำริด โดยจะมีขนาดใหญ่ พระพักตร์จะค่อนข้างกลม ไม่รีอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ทั่วไป สิ่งที่น่าสังเกตก็คือพระพุทธรูปกลุ่มนี้มักจะถูกทำนิ้วพระหัตถ์ให้มีความยาวเสมอกันหรือที่เรียกว่า “ทีฆังคุลี” ตามตำรามหาปุรุษลักษณะในพุทธประวัติ ส่วนในการกำหนดอายุนั้น นักประวัติศาสตร์ศิลปะส่วนใหญ่เชื่อว่าพระพุทธรูปกลุ่มนี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือในรัชสมัยของพญาไสลือไทแห่งกรุงสุโขทัย
ประเด็นที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะสนใจกันมากก็คือ เหตุใดพระพักตร์ของพระพุทธรูปในหมวดนี้จึงไม่รีเป็นรูปไข่แบบพระพุทธรูปสุโขทัยทั่วไป แต่กลับดูออกจะกลมเสียมากกว่า บ้างก็ว่าสาเหตุมาจากพระพุทธรูปนั้นมีขนาดใหญ่ ถ้าทำพระพักตร์ให้รีแล้ว มองจากมุมเงยจะไม่งาม แต่ถ้าใครเคยผ่านไปเห็นพระสุโขทัยขนาดยักษ์แถวๆอำเภอสวรรคโลก จะรู้ว่าข้อสันนิษฐานนี้ไม่จริงเลย แม้พระพุทธรูปองค์นี้จะมีขนาดใหญ่กว่าพระพุทธชินราชตั้งหลายเท่า แต่ช่างพื้นบ้านเขาก็ปั้นได้อย่างงดงาม
ทุกมุมมองชนิดที่บรรพบุรุษยังต้องลุกขึ้นมาภาคภูมิใจกันเลยทีเดียว ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดต่างๆของจังหวัดพิษณุโลก ในเขตอำเภอพรหมพิรามและอำเภอวัดโบสถ์ ที่นั่นมีโบราณสถานหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ที่น่าสนใจก็คือโบราณสถานที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบหนักไปทางล้านนามากกว่าแบบสุโขทัย แต่สิ่งที่ทำให้ผู้เขียนสนใจที่สุดคือการพบพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีชื่อว่า “พระพุทธวงศ์” ในวิหารทรงล้านนา ณ วัดกระบังมังคลาราม อำเภอ
พรหมพิราม พระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดเล็กกว่าพระพุทธชินราช แต่มีรูปแบบโดยรวมคล้ายคลึงกันมาก โดยเฉพาะรูปแบบของประภามณฑล(กรอบรัศมีรอบองค์พระพุทธรูป)ที่มีลวดลายใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นพระหัตถ์ของพระพุทธวงศ์ยังเป็น “ทีฆังคุลี” อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระพุทธรูปหมวดใหญ่ ความวิจิตรบรรจงของลายและฝีมือการหล่อสำริดที่ดีเยี่ยม ทำให้ไม่อาจเชื่อได้ว่านี่เป็นฝีมือของช่างพื้นบ้านหรือแม้แต่ฝีมือของช่างสิบหมู่ในปัจจุบัน แต่น่าจะเป็นงานของ
ช่างหลวงในสมัยโบราณเสียมากกว่า อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าพระพุทธวงศ์จะคล้ายกับพระพุทธชินราชชนิดที่ว่าถอดแบบกันมาเหมือนเปี้ยบ ขอให้สังเกตที่พระพักตร์ของพระพุทธวงศ์ จะเห็นได้ว่ารูปทรงของพระพักตร์นั้นจะมีความกลมและอวบอ้วนกว่าพระพุทธชินราชอย่างค่อนข้างชัดเจน ความกลมกลึงและอวบอ้วนของพระพักตร์เช่นนี้ชวนให้นึกถึงพระพุทธรูปแบบล้านนาที่เรียกกันแบบบ้านๆว่า “พระสิงห์” โดยพระสิงห์ที่มีการทำพระรัศมีเป็นรูปเปลวไฟอันเป็นอิทธิพลจากสุโขทัยนั้นเรียกกันว่า “พระสิงห์สอง” ถ้าใครไม่รู้จักพระสิงห์สอง ขอให้ลองจินตนาการถึงพระพุทธวงศ์ที่ไม่มีประภามณฑล และมีขนาดเล็กกว่านี้
ตามพงศาวดาร ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ภายหลังจากที่เมืองสุโขทัยได้ตกอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้ว เมืองสองแควได้กลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาเพื่อแย่งชิงสิทธิ์ในการครอบครอง โดยท้ายสุดแล้วธรรมราชาทั้งสองก็ยุติการศึกโดยหันเข้าสู่ทางธรรมทั้งคู่(พระบรมไตรโลกนาถทรงผนวชที่วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก ส่วนพระเจ้าติโลกราชทรงสร้างวัดมากมาย หนึ่งในนั้นคือวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่) ในช่วงนี้เองที่รูปแบบศิลปะของล้านนาน่าจะแพร่กระจายลงมาถึงเมืองสองแควพิษณุโลก และในทางกลับกัน ล้านนาก็รับเอาอิทธิพลทางศิลปะบางอย่างจากอยุธยากลับขึ้นไป
ดังนั้นจากการสันนิษฐานเบื้องต้นจึงเป็นไปได้ว่า พระพักตร์ที่ค่อนข้างกลมของพระพุทธรูปกลุ่มพระพุทธชินราช อาจจะได้แรงบันดาลใจมาจากพระพุทธรูปสิงห์สองของล้านนา โดยมีพระพุทธวงศ์นี้เองเป็นเครื่องยืนยัน และพระพุทธรูปแบบพระพุทธวงศ์นี้เองที่น่าจะเป็นต้นแบบให้แก่พระพุทธรูปกลุ่มพระพุทธชินราชซึ่งน่าจะถูกสร้างขึ้นในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันไม่นานนัก
อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรควรจะเข้าไปทำการศึกษารูปแบบพระพุทธวงศ์และโบราณสถานอื่นๆในวัดกระบังฯเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการบูรณะเจดีย์เก่าแก่(น่าจะมีอายุในสมัยอยุธยาตอนกลาง)ที่ถูกหญ้าปกคลุมรกเรื้ออยู่ในป่าด้านหลังของวัด รวมถึงการขุดตรวจแนววิหารพระพุทธวงศ์ที่ผู้เขียนเชื่อว่า องค์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นการสร้างขึ้นใหม่บนวิหารหลังเก่าที่มีขนาดใหญ่กว่า สังเกตได้จากแนวเสมาเก่า-ใหม่ และขนาดของพระพุทธรูปกับวิหารที่ไม่สัมพันธ์กัน
ชัวร์พระ.คอมwww.surepra.com