ธนบัตรไทยถีบ
ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลไทยขอให้รัฐบาลญี่ปุ่น
พิมพ์ธนบัตรให้ เนื่องจากไม่สามารถติดต่อพิมพ์ธนบัตรจาก
ประเทศอื่นได้ ครั้นสงครามทวีความรุนแรงขึ้น การขนส่ง
จากประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถทำได้โดยสะดวก ประกอบกับช่วงนั้น
ญี่ปุ่นบุกยึดเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ปรากฎว่ามีโรงพิมพ์
เอกชนของเนเธอแลนด์ สร้างไว้ที่จากาตาร์ญี่ปุ่นจึงใช้โรงพิมพ์นี้
พิมพ์ธนบัตรราคา 10 บาท โดยไม่ได้พิมพ์หมวดหมายเลข
และลายมือชื่อรัฐมนตรีกรทรวงการคลัง เมื่อพิมพ์เสร็จก็ขนส่ง
ไปไว้ที่สิงคโปร์(โชนัน)แล้วขนส่งทางรถไฟมายังกรุงเทพฯ
เพื่อมาส่งให้รัฐบาลไทยจัดพิมพ์หมายเลขและลายเซ็นรัฐมนตรี
กระทรวงการคลัง ข่าวใหญ่นี้รั่วไหลไปสู่แก็งค์รถไฟแก็งค์หนึ่ง
ที่ทุ่งสง เป็นพวกที่ชอบงัดแงะขโมยของญี่ปุ่นที่บรรทุกมาในตู้
รถไฟ เมื่อขบวนรถไฟบรรทุกธนบัตรมาถึงสถานีบ้านฉาง ห่างจาก
สุราษฎร์ธานีประมาณ 25 กิโล จึงงัดตู้แล้วแล้วถีบกระสอบใส่ธนบัตร
ลงมา และต่อมามีการปลอมลายเซ็นรัฐมนตรีคลัง เล้ง ศรีสมวงค์
แล้วนำออกใช้
ภายหลังกระทรวงการคลังทราบว่ามีธนบัตรจำนวนหนึ่งหายไป
ระหว่างขนส่งมากรุงเทพฯ จึงแจ้งเป็นธนบัตรที่ไม่ถูกกฎหมาย แต่เพี่อ
แก้ปัญหาการขาดแคลนธนบัตรในขณะนั้น จึงนำมาแก้ราคา โดยใช้
หมึกสีดำพิมพ์ทับ ตัวอักษรและแจ้งราคาจาก 10 บาทเป็น
50 สตางค์แทน
ชัวร์พระ.คอมwww.surepra.com