พระกริ่งสุจิตโต (พระกริ่งบัวรอบ) สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ปีพ.ศ.๒๔๘๗ มีจารใต้ฐาน ครับ พระนามรุ่น พระกริ่งสุจ |
฿9 |
ชื่อผู้ประกาศ : จ่าดี พระกรุ โทรศัพท์มือถือ : 081-9485299 ที่อยู่ : ปากเกร็ด |
พระกริ่งสุจิตโต (พระกริ่งบัวรอบ) สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ปีพ.ศ.๒๔๘๗ มีจารใต้ฐาน ครับ
พระนามรุ่น พระกริ่งสุจิตโต (พระกริ่งบัวรอบ) จัดสร้างโดย พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบ ๖ รอบ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ชื่น นพวงศ์) โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวง วชิรญาณวงศ์ เสด็จเททองหล่อพระกริ่งที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิ เวศวิหาร ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เวลา ๑๓.๕๑ น. พระกริ่งที่เททองคราวนี้จัดได้ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ผู้จัดสร้างมีพระประสงค์ให้เรียกนามว่า ?พระกริ่งสุจิตโต? ตามพระนามฉายาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
จำนวนสร้าง พระกริ่งสุจิตโต พิมพ์ใหญ่ ๓๐๐ องค์เศษ
พระกริ่งสุจิตโต พิมพ์เล็ก ๑๐๐ องค์เศษ
พระกริ่งทั้งสองพิมพ์นี้เททองแบบก้นกลวง แล้วจึงบรรจุเม็ดกริ่งปิดฐานด้วยแผ่นฝาบาตรบ้าง แผ่นทองแดงบ้าง แล้วจึงบัดกรีด้วยตะกั่วรอบฐาน
วรรณะ พระกริ่งสุจิโตพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กนั้น มีวรรณะ(เนื้อ) ที่แตกต่างกัน คงเนื่องมาจากการเททองที่ต่างเบ้ากัน (ทองชนวนคนละเบ้าหลอม)
พระกริ่งสุจิโตพิมพ์ใหญ่ ในองค์ที่สภาพเดิมไม่ผ่านการแต่งปอกผิวนั้น จะมีวรรณะเหลืองจางปนเขียวเล็กน้อย ถ้าผ่านการสัมผัสบูชาจะกลับเทาถึงเทาเข้ม(ไม่กลับดำ) ส่วนในองค์ที่ผ่านการแต่งปอกผิว ถ้าไม่ผ่านการสัมผัสบูชา วรรณะเหลืองจางปนเขียว-ขาวเล็กน้อย แต่ถ้าผ่านการสัมผัสบูชาจะกลับเหลืองเทาดำไม่สนิท มีประกายเงินขึ้นเล็กน้อย
พระกริ่งสุจิตโตพิมพ์เล็กนั้น วรรณะเหลืองปนขาวเล็กน้อย ถ้าในองค์ที่ผ่านการสัมผัสบูชาจะกลับน้ำตาลอ่อน ไม่กลับเทาเหมือนพิมพ์ใหญ่
แผ่นฝาบาตรหรือแผ่นทองแดงที่ปิดใต้ฐานพระนั้น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง มิได้เรียบสนิท วัตถุดิบที่นำมาเป็นทองชนวนในการหล่อหลอมครั้งนี้ ส่วนใหญ่ได้มาจากการที่พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล นำเอาพระบูชาเทวรูปเก่า(สมัยเชียงแสน-สุโขทัย-อยุธยา) ที่ชำรุดจนไม่อาจนำมาบูรณะซ่อมแซมได้จำนวนมาก นำมาหล่อหลอมเป็นชนวนหลักที่สำคัญ อนึ่ง...ในภายหลังได้มีการนำแบบพิมพ์พระกริ่งสุจิตโตพิมพ์ใหญ่มาถอดแบบเททองโดยการจัดสร้างของ ฯพณฯ นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น อาราธนาท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ยติธโร แห่งวัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานเททองหน้ารัฐสภาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ จำนวนหนึ่ง แต่สามารถแยกแยะได้โดยง่ายคือ พระกริ่งที่จัดสร้างโดย ฯพณฯ นายควง อภัยวงศ์ นั้น ส่วนหนึ่งจะเป็นพระที่เทแบบบรรจุกริ่งในตัวรูเดียว และส่วนหนึ่งเทตันแล้วนำมาเจาะรูบรรจุเม็ดกริ่งใต้ฐาน กระทั่งวรรณะ(เนื้อ) ก็แตกต่างกับพระกริ่งสุจิตโตวัดบวรนิเวศ
ศึกษาและสะสมร่วมกัน ครับ
จ่าดี พระกรุ ... 081-9485299
พระนามรุ่น พระกริ่งสุจิตโต (พระกริ่งบัวรอบ) จัดสร้างโดย พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบ ๖ รอบ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ชื่น นพวงศ์) โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวง วชิรญาณวงศ์ เสด็จเททองหล่อพระกริ่งที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิ เวศวิหาร ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เวลา ๑๓.๕๑ น. พระกริ่งที่เททองคราวนี้จัดได้ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ผู้จัดสร้างมีพระประสงค์ให้เรียกนามว่า ?พระกริ่งสุจิตโต? ตามพระนามฉายาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
จำนวนสร้าง พระกริ่งสุจิตโต พิมพ์ใหญ่ ๓๐๐ องค์เศษ
พระกริ่งสุจิตโต พิมพ์เล็ก ๑๐๐ องค์เศษ
พระกริ่งทั้งสองพิมพ์นี้เททองแบบก้นกลวง แล้วจึงบรรจุเม็ดกริ่งปิดฐานด้วยแผ่นฝาบาตรบ้าง แผ่นทองแดงบ้าง แล้วจึงบัดกรีด้วยตะกั่วรอบฐาน
วรรณะ พระกริ่งสุจิโตพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กนั้น มีวรรณะ(เนื้อ) ที่แตกต่างกัน คงเนื่องมาจากการเททองที่ต่างเบ้ากัน (ทองชนวนคนละเบ้าหลอม)
พระกริ่งสุจิโตพิมพ์ใหญ่ ในองค์ที่สภาพเดิมไม่ผ่านการแต่งปอกผิวนั้น จะมีวรรณะเหลืองจางปนเขียวเล็กน้อย ถ้าผ่านการสัมผัสบูชาจะกลับเทาถึงเทาเข้ม(ไม่กลับดำ) ส่วนในองค์ที่ผ่านการแต่งปอกผิว ถ้าไม่ผ่านการสัมผัสบูชา วรรณะเหลืองจางปนเขียว-ขาวเล็กน้อย แต่ถ้าผ่านการสัมผัสบูชาจะกลับเหลืองเทาดำไม่สนิท มีประกายเงินขึ้นเล็กน้อย
พระกริ่งสุจิตโตพิมพ์เล็กนั้น วรรณะเหลืองปนขาวเล็กน้อย ถ้าในองค์ที่ผ่านการสัมผัสบูชาจะกลับน้ำตาลอ่อน ไม่กลับเทาเหมือนพิมพ์ใหญ่
แผ่นฝาบาตรหรือแผ่นทองแดงที่ปิดใต้ฐานพระนั้น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง มิได้เรียบสนิท วัตถุดิบที่นำมาเป็นทองชนวนในการหล่อหลอมครั้งนี้ ส่วนใหญ่ได้มาจากการที่พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล นำเอาพระบูชาเทวรูปเก่า(สมัยเชียงแสน-สุโขทัย-อยุธยา) ที่ชำรุดจนไม่อาจนำมาบูรณะซ่อมแซมได้จำนวนมาก นำมาหล่อหลอมเป็นชนวนหลักที่สำคัญ อนึ่ง...ในภายหลังได้มีการนำแบบพิมพ์พระกริ่งสุจิตโตพิมพ์ใหญ่มาถอดแบบเททองโดยการจัดสร้างของ ฯพณฯ นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น อาราธนาท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ยติธโร แห่งวัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานเททองหน้ารัฐสภาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ จำนวนหนึ่ง แต่สามารถแยกแยะได้โดยง่ายคือ พระกริ่งที่จัดสร้างโดย ฯพณฯ นายควง อภัยวงศ์ นั้น ส่วนหนึ่งจะเป็นพระที่เทแบบบรรจุกริ่งในตัวรูเดียว และส่วนหนึ่งเทตันแล้วนำมาเจาะรูบรรจุเม็ดกริ่งใต้ฐาน กระทั่งวรรณะ(เนื้อ) ก็แตกต่างกับพระกริ่งสุจิตโตวัดบวรนิเวศ
ศึกษาและสะสมร่วมกัน ครับ
จ่าดี พระกรุ ... 081-9485299