รายละเอียดสินค้า
สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า นวม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2407 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด[1] เป็นบุตรของหมื่นนรา (อินทร์) กับนางใย มีพี่น้องร่วมบิดากัน 8 คน[2] ภูมิลำเนาอยู่บ้านวังแม่ลูกอ่อน อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
เริ่มแรกได้ศึกษาที่วัดโคกเข็ม จังหวัดชัยนาท จนอายุได้ 13 ปี จึงย้ายมาศึกษาที่วัดอนงคาราม ได้บวชเป็นสามเณรในปี พ.ศ. 2424[1] แล้วศึกษาต่อจนถึงปี พ.ศ. 2428 ได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร โดยมีพระครูเมธังกร เจ้าคณะอำเภอเมืองในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธรวันและพระสมุห์เปรมเป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า พุทฺธสโร บวชแล้วกลับมาอยู่วัดอนงคารามเพื่อศึกษาต่อ[2]
ศาสนกิจ
ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอาจารย์สยามปริยัติ ครูโรงเรียนวัดอนงคาราม ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รั้งตำแแหน่งเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก จนถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2470 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก[3] ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2474 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ท่านลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลกได้ตามปรารถนา เพราะมีหน้าที่อื่นมากอยู่แล้ว[4]
สังฆมนตรี
1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นสังฆนายก
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นสังฆนายกสมัยที่ 2[5]
11 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ ซึ่งมีพระศาสนโศภน (จวน อุฏฺฐายี) เป็นสังฆนายก[6]
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 ตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นสังฆนายก[7]
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นสังฆนายกสมัยที่ 2[8]
สมณศักดิ์
29 เมษายน พ.ศ. 2442 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูอุดมพิทยากร มีนิตยภัตราคาเดือนละ 2 ตำลึงกึ่ง[9]
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระธรรมธราจารย์ มีนิตยภัตเดือนละ 12 บาท[10] ได้รับพระราชทานผ้าไตรและพัดยศ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ร.ศ. 125[11]
19 มิถุนายน พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานพัดแฉกหน้าราหูเล็ก เสมอพระราชาคณะเปรียญธรรม 4 ประโยค มีนิตยภัตเดือนละ 16 บาท[12] ณ พลับพลาโรงละครสวนแง่เต๋ง พระราชวังดุสิต[13]
30 ธันวาคม พ.ศ. 2463 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระรัชชมงคลมุนี พรหมจารีพรตนิวิฐ กฤตยาทรยติคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี[14]
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระมงคลเทพมุนีศรีรัตนไพรวัน ปรันตปะประเทศ เขตร์อรัญวาสีบพิตร[15]
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระโพธิวงศาจารย์ ญาณวิศุทธจริยาปริณายก ตรีปิฎกธรรมสุนทร ยติคณิสสร บวรศีลาทิขันธ์ อรัณยวาสี[16]
1 มีนาคม พ.ศ. 2484 เลื่อนเป็นพระราชาคณะเทียบชั้นเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญญวาสีที่ พระมหาโพธิวงศาจารย์ พุทธสราภิธานปริยัตติปรีชา อุดมวิทยากโรปการคุณ วิบุลจริยสมบัติ อเนกบริษัทประสาทการ อภิบาลพุทธปาทวลัญช์ อรัญญวาสีสังฆนายก[17]
19 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตสัมบัน สรรพสมณคุณ วิบุลยประสิทธิ์ ยติคณิศรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลญาณสุนทร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญญวาสี[18]
มรณภาพ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ มรณภาพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 สิริอายุได้ 92 ปี 134 วัน พรรษา 72[1
ชัวร์พระ.คอมwww.surepra.com