พระติ้ว-พระเทียม วัดโอกาศนครพนม
นครพนมอีกหนึ่งเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขงที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เป็นที่ตั้งของอดีตอาณาจักรอันเคยรุ่งเรืองคืออาณาจักรศรีโคตรบูร มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายให้ศึกษาที่คนทั่วไปรู้จักกันดีก็คือ 'พระธาตุพนม' พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวนครพนม
แต่ใช่ว่าที่นครมพนมจะมีของดีเพิ่งแค่พระธาตุพนมเท่านั้นอย่างที่ 'วัดโอกาส'(เดิม ชื่อว่าวัดศรีบัวบาน) ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงเขตเทศบาลเมืองนครพนม ก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ ที่นี่เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งสันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร กำลังรุ่งเรือง ภายในวัดมีปูชนียวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญอันเป็นที่บูชาสักการะของชาว นครพนมมากมายอาทิ หลวงพ่อศิลา ศาลเจ้าพ่อหมื่น ภาพผนังปูนปั้นนูนต่ำสามก๊ก เป็นต้น
ปัจจุบัน วัดโอกาส มีพื้นที่ 3ไร่ 2งาน 28 ตารางวา โดยมีประวัติที่เล่าขานกันสืบมาถึงการสร้างวัดว่า “จมื่นรักษาราษฎร์” ซึ่งเป็นแม่ทัพนายกองของพระเจ้าศรีโคตรบูร ได้นำกำลังทหารมาตั้งค่ายระวังข้าศึกที่บ้านโพธิ์ค้ำ และได้สร้างวัดขึ้นเพื่อบำรุงขวัญทหารที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณบ้านโพธิ์ ค้ำ
ต่อมาเมื่อจุลศักราชราชาได้ 1,100 ตัวปี ตรงกับ พ.ศ.2281 ราชบุตรพรหมา (พรหมมาบุตรเจ้ากู่แก้ว)เป็นผู้ครองนครศรีโคตรบูร ปรากฏนามว่า พระบรมราชาพรหมา ได้มีศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์วัดศรีบัวบาน โดยได้สร้างอุโบสถและสร้างพระประธานแล้วประดิษฐานไว้ในอุโบสถซึ่งมีขนาด หน้าตักกว้าง46ซ.ม สูง220ซ.ม พุทธลักษณะปางวิชัยแล้วลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์และได้ทำการฉลองสมโภชและถวาย สมัญญานามว่า “หลวงพ่อพระบรมราชาพรหมา” นอกจากนี้ยังยังได้อัญเชิญไว้ที่วัดศรีบัวบาน และได้เปลี่ยนชื่อจากวัดศรีบัวบาน เป็นวัดโอกาสแล้วมีสร้อยท้ายตามหลังว่า ศรีบัวบาน
นอกจากนี้ที่บริเวณกลางวัดจะมีหอประดิษฐาน 'พระติ้ว พระเทียม'พระ คู่แฝดแห่งเมืองนครพนมอยู่คู่กัน โดยพระติ้วจะประทับอยู่ด้านขวาของพระเทียม สำหรับประวัติของ พระติ้ว พระเทียม นั้นเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครพนมมาแต่โบราณกาล
ในตำนานการสร้างพระติ้ว พระเทียม ในตอนแรก จะมีเพียงองค์พระติ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง 39 ซ.ม. สูง 60 ซ.ม.สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระเจ้าศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครอาณาจักรศรีโคตรบูรประมาณปีพ.ศ.1238 โดยพระองค์ได้โปรดให้นายช่างสร้างจากไม้หมอนรองท้องเรือท่อนที่ทำจากไม้ติ้ว ซึ่งกระเด็น ออกในขณะที่ทำการชักลากเรือลงสู่แม่น้ำโขง
ครั้นได้ทำการสมโภชเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแล้วเมื่อเกิดเหตุร้ายภัย ร้าย ณ บ้านเมืองใด จึงได้อัญเชิญองค์พระติ้วไปประดิษฐาน ณ บ้านเมืองนั้น ครั้นพอเหตุร้ายภัยร้ายระงับดับหายไปก็อัญเชิญประดิษฐานภายในเมืองตามปกติ
ครั้งหนึ่งเกิดเพลิงไหม้หอพระวัดธาตุ บ้านสำราญ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระติ้ว พระเจ้าขัตติยะวงศาฯ จึงมีบัญชาให้ชาวบ้านหาไม้มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปเหมือนองค์พระติ้วทุก ประการ แล้วจัดให้มีการสมโภชเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแทนองค์พระติ้วที่เข้าใจว่าถูก ไฟไหม้แล้ว
ต่อมาได้มีชาวบ้านสำราญไปหาปลากลางแม่น้ำโขง ในขณะนั้นเองได้เกิดลมบ้าหมู(พายุหมุน)ขึ้นและชาวบ้านได้เห็นองค์พระติ้วลอย ขึ้นมาจากแม่น้ำโขง จึงได้นำไปถวายคืนพระเจ้าขัตติยะวงศาฯ พระองค์ศรัทธาเป็นอย่างยิ่งจึงได้สละทองคำหนัก30 บาท ให้ช่างบุทั่งทั้งองค์พระและจารึกอักษรที่แท่นฐานลานเงิน เพื่อบอกวันเดือนปีและนามผู้สร้าง พร้อมทั้งได้ถวายสมัญญานามพระพุทธรูปองค์เดิมว่า 'พระติ้ว' และพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้แทนพระติ้วนั้นว่า 'พระเทียม'
ซึ่งในกาลต่อมาราชบุตรพรหมา (พรหมาบุตรเจ้ากู่แก้ว)เจ้าครองเมืองนครบุรีศรีโคตรบูรได้อัญเชิญ พระติ้ว พระเทียม มาประดิษฐานที่วัดศรีบัวบานในปีพ.ศ.2281 ชาวนครพนมจะจัดงานสรงน้ำ พระติ้ว พระเทียม ในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน6 เป็นประเพณีสืบมาทุกๆปี
การสังเกตความแตกต่างของพระติ้วพระเทียม นั้นนอกจากจะทราบว่าพระติ้วจะอยู่ด้านขวาของพระเทียมแล้วยังสามารถสังเกตได้ จากองค์พระติ้วทำด้วยไม้ติ้วบุทองคำ ส่วนพระเทียมนั้นไม่ได้บุทองคำแต่ลงรักปิดทองคำเปลวแทน
เหรียญพระติ้ว พระเทียม วัดโอกาสนครพนม ปี ๒๕oo บล๊อกธรรมดา สำหรับเหรียญนี้หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพ จ.นครพนม ปลุกเสก
www.surepra.comชัวร์พระ.คอม