5C จัดการ e-Commerce เเบบมือโปร

฿ไม่ระบุ
ชื่อผู้ประกาศ : Pay Solutions

รายละเอียดสินค้า

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะประเภทใด ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ หรือแม้แต่การตั้งแผงหน้าร้านค้าแบบออฟไลน์ หลักวิธีคิดพื้นฐานง่าย ๆ ที่ขอนิยามว่า วิธี ?5 C? ที่จะช่วยให้คุณสามารถรักษาฐานลูกค้า จัดการ e-Commerce แบบมือโปรและตรงจุด หากทำแบบต่อเนื่องในระยะยาว สามารถพัฒนาคุณภาพและบริการของคุณให้ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย

1. Commerce

การทำธุรกิจโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ สิ่งที่ควรมีคือช่องทางการขายสินค้าที่ตอบโจทย์ เช่น ช่องทาง Social media ที่สามารถโพสต์ขายสินค้า และประชาสัมพันธ์ได้, หน้าเว็บไซต์สำหรับร้านค้าออนไลน์ทั้งแบบสำเร็จรูป หรือเว็บไซต์เปล่าเพื่อนำมาปรับแต่งเอง และสิ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพในการขาย กรณีธุรกิจเริ่มขยายใหญ่ขึ้น เช่น ตัวช่วยจัดการออเดอร์ ระบบจัดการสต็อกสินค้า ระบบเชื่อมต่อสำหรับการชำระเงิน หรือแม้แต่การเชื่อมต่อระบบขนส่งได้เพื่อลดระยะเวลาในการคีย์ข้อมูลการจัดส่ง และรับเลข tracking อัตโนมัติส่งให้ลูกค้าได้ทันที

การเตรียมแผนเบื้องต้นเหล่านี้ นอกจากจะช่วยให้ผู้ขายจัดการระบบสต็อกสินค้าของตัวเองได้ง่ายขึ้น ลูกค้าก็ได้รับความสะดวกในการบริการ ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าข้อมูลจะตกหล่นหรือไม่ จะได้รับสินค้าหรือเปล่า หากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นมองหาเว็บไซต์สำเร็จรูปสำหรับขายสินค้าที่ดีและครบวงจรได้ที่ไหน ระบบ U-Commerce ตัวช่วยจัดการร้านค้าจาก TARAD.com เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะสามารถใช้งานได้ฟรี พร้อมเชื่อมต่อระบบขนส่ง (e-logistic) และระบบรับชำระเงิน (e-Payment) และหากต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ร้านค้าสามารถเลือกจดโดเมนเนม .com, .net ได้ พร้อมจัดหมวดหมู่ให้ร้านค้าอยู่ถูกประเภท ทำให้ลูกค้าที่สนใจสินค้าของเรา ค้นหาสินค้าเจอ และคลิกเลือกซื้อสินค้า กรอกข้อมูล จ่ายเงินครบขั้นตอนใช้บริการได้ง่ายขึ้น

2. Contact

เมื่อทำธุรกิจออนไลน์ รูปแบบ e-Commerce หัวใจสำคัญ คือการ ?ติดต่อง่าย? และรองรับหลายช่องทาง หากมองในมุมลูกค้า เวลาที่เรามีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ หรือมีหลายสิ่งที่ต้องการเป็นพิเศษนอกเหนือจากที่เราแสดงหน้าร้านค้าในด่านแรก สิ่งสำคัญต่อมาคือช่องทางการสื่อสาร โดยช่องทางหลัก ๆ ที่คนไทยนิยมใช้ คือผ่านช่องแชทผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram หรือการให้ติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์ และอีเมล

หากคุณไม่ใช่ธุรกิจประเภทที่ให้บริการได้แบบ 24 ช.ม. เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้ เช่น การเปิดระบบตอบรับข้อความอัตโนมัติ (Chatbot) ที่ช่วยการตอบรับกับคำถามที่รวดเร็วสามารถ ตอบสนองลูกค้าได้ดีขึ้น เพิ่มโอกาสในการขาย เเละช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าได้อีกด้วย นอกจากนี้ ในบางครั้งที่ผู้ขายแนะนำให้ลูกค้าเข้าไปกดซื้อสินค้าในเว็บไซต์อาจไม่สะดวกเท่าไรนัก เราสามารถเร่งปิดการขายได้ด้วยการ แชท-ขาย-จ่าย ส่งลิงก์รับชำระเงินจากระบบรับชำระเงินออนไลน์ Pay Solutions ได้เช่นกัน

3. Collect

หลังปิดการขายได้เเล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเก็บเงิน ร้านค้าควรมีระบบรับชำระเงินออนไลน์ เพื่อรองรับการจ่ายชำระเงินของลูกค้าแบบครบทุกช่องทางมากกว่าการรับโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร เพราะหากร้านค้ามีช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย จะช่วยให้ผู้ซื้อจ่ายเงินได้ง่าย เพิ่มโอกาสทางการขายให้เติบโตมากขึ้น บริการรับชำระเงินออนไลน์ ของ Pay Solutions มีช่องทางการชำระเงินครบถ้วน ทั้งบัตรเครดิต ทำผ่อนจ่าย คิวอาร์พร้อมเพย์ อีวอลเล็ท หรือ จ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ ซึ่งสามารถตอบสนองทุกไลฟสไตล์ของผู้ซื้อ นอกจากนี้ มีระบบจัดการหลังบ้านรองรับ ช่วยให้สามารถดึงข้อมูลการขาย และเช็ครายได้ร้านค้าได้ว่าลูกค้าทำการจ่ายเงินสำเร็จหรือไม่ แบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง และร้านสามารถออกใบเสร็จใบกำกับภาษีให้ลูกค้าได้อีกด้วย ช่วยให้ธุรกิจจัดการเรียกเก็บเงินได้มีประสิทธิภาพเเละมีความเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น

นอกจากการเก็บเงินเเล้ว สิ่งที่เราได้คือการ ?เก็บข้อมูล? โดยเฉพาะข้อมูลลูกค้า ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และที่อยู่จัดส่งสินค้า ซึ่งเป็นพื้นฐานของการนำไปใช้ในการติดต่อ เพื่อต่อยอดกิจกรรมทางการตลาด โดยเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ฟรี เช่น Spreadsheet จาก Google บันทึกข้อมูลแบบออนไลน์ร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา หรือแบบมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) รวมไปถึงข้อมูลสินค้า ข้อมูลการรับชำระเงิน เเละโดยเฉพาะการบันทึกข้อความสั้น ๆ เพื่อเตือนความจำว่า ลูกค้าชอบบริการอะไรเป็นพิเศษ หรือลูกค้าฝากอะไรไว้ จะทำให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องราบรื่น ลูกค้าเกิดความประทับใจเมื่อได้รับบริการ

4. Communication

การสื่อสารที่มากกว่าช่องทางการติดต่อ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ธุรกิจออนไลน์ควรมี ทั้งเว็บไซต์ เเละโซเชียลมีเดีย ทุกช่องทางควรมีการอัปเดตแบบต่อเนื่อง ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการขายสินค้า โดยเริ่มแรกอาจไม่จำเป็นต้องทำการโปรโมทแบบเสียเงิน แต่เน้นการสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ แบบต่อเนื่อง หรือการเขียนบทความ SEO เพื่อให้การค้นหาติดอันดับหน้าเว็บไซต์ได้เช่นกัน

แน่นอนว่าเมื่อสินค้าหรือการบริการของธุรกิจมีคนสนใจมากขึ้น มีโอกาสที่ยอดขายจะเพิ่มมากขึ้น การลงทุนเพิ่มเพื่อผลตอบแทนระยะยาว แล้วถ้าเราไม่สามารถจัดการเองได้ หรือไม่มีเวลาในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์เช่น การลงโฆษณาผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ให้คนรู้จักสินค้าของเรามากยิ่งขึ้นควรทำอย่างไร? การจ้างทีมงาน Digital Marketing ที่มีประสบการณ์ช่วยดูแล ถือเป็นทางเลือกที่จะช่วยตอบโจทย์การโปรโมทสินค้าเเละบริการ โดยที่สามารถวางเเผนเเละงบประมาณได้ตามที่ต้องการ ซึ่งสามารถปรึกษาได้ฟรีกับทีมงานผู้ให้บริการ TARAD.com

5. CRM (Customer Relationship Management)

นอกจาก 4 ข้อข้างต้น อย่าลืมเรื่อง CRM (Customer Relationship Management) คือ ระบบลูกค้าสัมพันธ์ หากอยากให้ธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าหลังการขายก็สำคัญ โดยการสำรวจ Feedback หลังการขาย เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้ามาปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนที่ร้านค้าเองคาดไม่ถึงได้หลายวิธี เช่น ส่งอีเมลแบบสอบถาม การพูดคุยผ่านทางแชท หรือแม้แต่เชิงรุกแบบทางโทรศัพท์ และจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้นง่าย ๆ ผ่าน Spreadsheet จาก google ที่ใช้งานได้ฟรี หรือหาบริการระบบ CRM สำหรับธุรกิจที่เริ่มมีลูกค้าหลากหลายมากขึ้น

ประโยชน์ของการรวบรวมข้อมูล (Data) ในยุคธุรกิจแบบ e-Commerce และการทำ CRM ทำเพื่อนำไปวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เพื่อให้รู้ความต้องการลูกค้า หรือเทรนด์ ณ ขณะนั้น เช่น ข้อมูลสินค้าขายดี แต่ละช่วงเวลา สินค้า/บริการใด ควรรีบดัน หรืออะไรควรหยุดทำ เพื่อนำไปวางแผนต่อยอดทางการตลาด และเพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับธุรกิจของคุณเอง

หวังว่า วิธี ?5 C? ในบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านเพื่อนำไปพัฒนาแบบมือโปรมากขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญของธุรกิจ นอกจากยอดขายเเล้ว คือการรักษาความสัมพันธ์ลูกค้า รู้เทคนิกเเล้วลองนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณได้เลย



ขายของออนไลน์เทคนิคการขายpaysolutionsรับบัตรเครดิตecommerceรับชำระเงิน
สินค้าแนะนำ
บทความ