หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม เหรียญหลังโต๊ะหมู่ เนื้อเงิน องค์ที่1

฿5500
ชื่อผู้ประกาศ : ชาญพระเครื่อง(อีสานใต้)

เบอร์โทรศัพท์ : 084-7000722

โทรศัพท์มือถือ : 084-7000722

ที่อยู่ : 102 ม.20 ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน

การติดต่ออื่นๆ : -

รายละเอียดสินค้า

ในอดีต "วัดกระดึงทอง" ต.บ้านด่าน กิ่งอ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ เมื่อครั้งยังเป็นสำนักสงฆ์ มีพระอาจารย์แก้ว ธัมมทินโน และพระอาจารย์เสร็จ ญาณวุฑโฒ พระวิปัสสนาจารย์ผู้เคร่งธรรมเป็นเสาหลัก

แต่ยามนี้ มีหลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม เป็นหลักพักพิงใจให้ผู้แสวงความสงบ

ปัจจุบัน หลวงปู่เหลือง หรือพระราชปัญญาวิสารัท สิริอายุ 80 พรรษา 60 เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง และเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)

อัตโนประวัติ พระราชปัญญาวิสารัท มีนามเดิมว่า เหลือง ทรงแก้ว เกิดเมื่อวันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2470 เวลาใกล้รุ่ง ณ บ้านนาตัง หมู่ที่ 2 ต.สมอ อ.เมือง จ.สุรินทร์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเที่ยง ทรงแก้ว และนางเบียน ทองเชิด มีบุตร-ธิดา รวม 8 คน เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน

เมื่ออายุ 11 ขวบ เข้าโรงเรียนประชาบาล ที่วัดนิลาเทเวศน์ บ้านนาตัง จ.สุรินทร์ และเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนจะลาออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ

พ.ศ.2486 พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล และพระอาจารย์สมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ มีศักดิ์เป็นพี่ชายของท่าน และเป็นศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระนักปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานแห่งสำนักวัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา ได้กลับมาเยี่ยมบ้านที่จ.สุรินทร์ จึงพา ด.ช.เหลือง ไปอยู่ด้วยที่วัดป่าศรัทธารวม จ.นครราชสีมา และไปกราบนมัสการหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ที่วัดบูรพาราม พำนักอยู่ 7 วัน

เมื่อครบกำหนดวัน จึงได้กราบนมัสการลาหลวงปู่ดุลย์ กลับนครราชสีมาโดยทางรถไฟ ไปพักอยู่ที่วัดป่าศรัทธารวม

สำหรับวัดป่าศรัทธารวม ถือเป็นสาขาของวัดป่าสาละวัน ในสมัยนั้นมีหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นหัวหน้าคณะ

ด.ช.เหลือง ได้มีโอกาสอยู่รับใช้หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิด ได้รับคำแนะนำพร่ำสอนให้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติ ตั้งแต่ต้น ให้รู้จักกราบ รู้จักไหว้ รู้จักประเคนสิ่งของพระ ล้างบาตร เช็ดบาตร ผูกมัดสลกบาตร และให้รู้จักเคารพครูบาอาจารย์ พระภิกษุ สามเณร

รวมทั้งสอนให้รู้จักสวดมนต์ไหว้พระทุกค่ำเช้า ฝึกสอนให้รู้จักเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เป็นต้น

จนเกิดธรรมปีติอันซาบซ่าน เอิบอิ่มในรสพระธรรม เห็นสภาพความเป็นจริงแห่งชีวิต ได้ตั้งปณิธานขอศึกษาข้อกัมมัฏฐานเพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง

พ.ศ.2487 ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา แต่ไปจำพรรษที่วัดป่าดอนขวาง ต.หัวทะเล จ.นครราชสีมา และสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีเดียวกัน

ในบางช่วงเวลา ท่านมักจะออกไปฝึกหัดวิปัสสนากั?มมัฏฐานอยู่ที่วัดป่าสาละวันเป็นระยะๆ

พ.ศ.2489 ได้ขอมาเรียนนักธรรมและบาลีที่วัดศาลาทอง และสอบได้นักธรรมชั้นโท แต่บาลีไม่ได้สอบเพราะป่วย จึงหยุดเรียนแต่นั้นมา

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามเณรเหลืองได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสุทธจินดา โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(พิมพ์ ธัมมธโร) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณดิลก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาเขียน ฐิตสีโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดป่าศรัทธารวม ทั้งปฏิบัติและเรียนนักธรรมไปพร้อมกัน

พ.ศ.2590 สอบได้นักธรรมชั้นเอก และได้รางวัลจากอาจารย์

ปีต่อมา ได้ย้ายไปอยู่วัดป่าศรัทธารวม สวดปาติโมกข์และช่วยสอนนักธรรมพระอาจารย์บุญมาที่อยู่วัดศาลาทอง ตามวาระที่มอบให้จนตลอดพรรษา ก่อนไปพำนักอยู่ที่วัดป่าสาละวัน จนเข้าใกล้ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ท่านเจ้าคุณอริยเวที วัดสุทธจินดา ได้พาไปจำพรรษาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านอยู่เป็นเวลา 8 ปีเต็ม

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่แดง ได้มาขอให้ท่านไปช่วยสวดปาฏิโมกข์และสอนนักธรรมที่วัดป่าสักกาวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ก่อนย้ายกลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดรังสีปาลิวัน บ้านโพน เพื่อตั้งใจฝึกปฏิบัติ และคอยช่วยสอนนักธรรมให้พระวัดบ้านด้วย พร้อมกับได้มีการอบรมทายกทายิกาเกือบทุกวันในพรรษา

หลังหลวงปู่เหลือง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ได้ทำการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์รวมของชาวบ้าน ด้วยในบริเวณวัดเป็นป่า ส่วนใหญ่มีต้นไม้ใหญ่ จึงพยายามรักษาไว้และปลูกเพิ่มทุกปี จนวัดดูร่มรื่นน่าอยู่ มีสัตว์น้อยใหญ่อาศัยอยู่

ขณะเดียวกัน ได้นำพระภิกษุ-สามเณร ตลอดจนถึงประชาชนชาวบ้านพัฒนาวัดวาอาราม จนทำให้วัดมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน อาทิ มีศาลาอเนกประสงค์ชั้นเดียว ใช้สำหรับฉันภัตตาหารเช้า ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ประชุมของพระสังฆาธิการ กุฏิสงฆ์ 23 หลัง อุโบสถ เมรุและศาลาบำเพ็ญกุศล

นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดกระดึงทอง ยังใช้เป็นสถานที่สอบธรรมสนามหลวง ในจ.บุรีรัมย์ (ธรรมยุต) มีเพียงแห่งเดียว และเป็นที่ประชุมพระสังฆาธิการประจำจังหวัดด้วย

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2497 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอสหัสขันธ์ (ธ) ทำหน้าที่ดูแลอบรมหมู่คณะ ในเขตอ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์

พ.ศ.2499 เป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระอริยเวที และท่านตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน บ้านโพนด้วย

พ.ศ.2515 รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง และเป็นเจ้าคณะตำบล

พ.ศ.2519 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นพระครูวิริยาภิวัฒน์

พ.ศ.2521 ได้รับตราตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง

พ.ศ.2522 ได้รับบัญชาจากเจ้าคณะภาค 11 ให้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)

พ.ศ.2523 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2528 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระชินวงศาจารย์

พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชปัญญาวิสารัท"

หลวงปู่เหลือง หรือพระราชปัญญาวิสารัท มีอุปนิสัยส่วนตัวสมถะเรียบง่าย รักสันโดษ ชอบอยู่ตามป่าเขา เป็นพระที่มีภูมิธรรมสูง ประกอบกับมีปฏิปทาอันแน่วแน่ ที่จะดำรงบวรพระพุทธศาสนาให้สถิตรุ่งเรืองในภาคอีสาน

ด้วยมีจิตใจตั้งมั่น ปฏิบัติธรรมตามแนวทางแห่งองค์พระศาสดา ดำเนินชีวิตไปสู่ความถูกต้องดีงามเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติส่วนรวม

หลวงปู่เหลือง แม้จะย่างเข้าวัยชราเปรียบประดุจไม้ใกล้ฝั่ง อายุสังขารล่วงเลย 79 ปี แต่สิ่งดีที่มีในตัวท่าน ยิ่งชรา ยิ่งโชติช่วง ยิ่งสว่าง

งามทั้งศีล ทั้งธรรม งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด



พระราชปัญญาวิสารัทเหรียญเนื้อเงินหลวงปู่เหลืองหลังโต๊พระวิปัสนากรรมฐานบุรีรัมย์อัตุโลหลวงปู่ดูลย์พระเกจิสายอีสานหลังโต๊ะหมู่เนื้อเงิไตรมาศ46
สินค้าแนะนำ
บทความ