รับสกรีนผ้า รับสกรีนเสื้อยืด งานด่วน 24 ชม. โทร0896962966 รับสกรีนเสื้อยืด ดอท คอม เรารับสกรีนเสื้อยืด ขายส่งเสื้อยืด รับปักและรับสกรีนทุกประเภท

฿1
ชื่อผู้ประกาศ : สันต์

เบอร์โทรศัพท์ : 089-696-2966

โทรศัพท์มือถือ : 089-696-2966

รายละเอียดสินค้า

ขั้นตอนการผลิตเสื้อ/เสื้อยืด/โปโล By Sp T-SHIRT&SCREEN Garment 

เราเป็นโรงงานผู้ผลิตเสื้อครบวงจร ทั้งเสื้อยืด เสื้อโปโล และ เสื้อแจ๊คเก็ต จากประสบการณ์การทำ เสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อปัก เสื้อสกรีน 
เสื้อแจ๊คเก็ต และ เสื้อยืดแบบต่างๆกว่า 20 ปี ท่านจึงสามารถมั่นใจได้ว่า จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด เมื่อสั่งผลิตเสื้อจากเรา ทั้งเรื่องเวลา 
และคุณภาพสินค้า เราเป็นโรงงานผลิตเสื้อยืด เสื้อโปโล และ เสื้อแจ๊คเก็ต แบบครบวงจร พร้อมบริการปักและสกรีนโลโก้ มีประสบการณ์
ในอุตสาหกรรมสิ่งทอมามากกว่า 20 ปี เป็นผู้ผลิตเสื้อยืด เสื้อโปโล และ เสื้อแจ๊คเก็ต ส่งให้แก่ลูกค้าโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ แพลตตินั่ม จัตุจักร 
คลองถม สำเพ็ง โรงเกลือ บริษัทชั้นนำมากมาย และส่งออกไปยังต่างประเทศ


เรารับผลิตเสื้อยืด เสื้อโปโล และ เสื้อแจ๊คเก็ต ตามออเดอร์ที่ลูกค้าต้องการ เสื้อพนักงาน เสื้อบริษัท เสื้อกีฬาสี เสื้อรับน้อง

เสื้อสถาบันต่างๆ เสื้อองค์กร เสื้อธนาคาร เสื้อโรงพยาบาล เสื้อโฆษณา เสื้อส่งเสริมการขาย เสื้อชมรม เสื้อสโมสร เสื้อสถาบัน

เสื้อมหาลัย เสื้อซุ้ม โดยท่านสามารถเลือกจากแบบที่เรามีอยู่กว่า 800 แบบ และหากท่านมีแบบที่ถูกใจอยู่แล้ว

หรือต้องการดีไซน์ แบบเสื้อยืด เสื้อโปโล และ เสื้อแจ๊คเก็ต เอง ทางบริษัทก็สามารถทำให้ได้ทุกแบบ ทุกไซส์ตามที่ คอนเซปงาน

ของท่าน หรือตามที่ท่านต้องการ

เราใส่ใจและมุ่งเน้นรายละเอียดในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบเกรด A พร้อมทีมงานที่มีฝีมือและประสบการณ์ 
จนถึงบริการหลังการขาย เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพที่สุดในราคาสมเหตุสมผล ตรงต่อเวลาและบริการที่ดีเยี่ยม โดยยึดหลัก ความพึงพอใจ
ของลูกค้า คือ ปณิธานสูงสุดของเรา ด้วยเหตุนี้ บริษัทชั้นนำ โรงเรียน มหาลัย สถาบันการศึกษา องค์กรต่างๆและหน่วยงานราชการต่าง ๆ 
มากมาย จึงไว้วางใจใช้บริการ การทำเสื้อผลิตเสื้อ กับเราอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา และแนะนำลูกค้าใหม่ มาให้โดยตลอด
เรามีเนื้อผ้าทั้งเสื้อยืด เสื้อโปโล และ เสื้อแจ๊คเก็ต ให้เลือกมากมายหลากหลาย ทั้งผ้าเรียบ (TK No.20,TK No.45,
TK No.35, TC No.20, TC No.34เส้นคู่ , Cotton100% No.20 OE, Cotton100% 
No.32 Semi,CVC No.20, CVC No.30, TK Link) ผ้าเรียบหน้าเดียว Single Jersey 
(TK No.20, TC No.20, Cotton100% No.20, Cotton100% No.32) 
และผ้าเรียบสองหน้า Interlock (TK No.34, Cotton 100% No.40) ซึ่งเป็นเนื้อผ้า เสื้อโปโล และ 
เสื้อยืด คุณภาพเกรด A ทั้งสิ้น เป็นเนื้อผ้าระดับส่งออก ไม่ยืด ไม่ย้วย ไม่หด ไม่ขึ้นขน สีไม่ซีด ไม่ตก ทอด้วยเส้นด้ายlinkอย่างดี
ทำให้ผ้าดูนุ่ม สีสันสวยสดใส ไม่เก่าง่าย และทอน้ำหนักสูงกว่าปกติ เพื่อให้ผ้าทรงตัวดี สวมใส่แล้วอยู่ทรง สวยงาม มีสีให้ท่านเลือกกว่า 100 สี
เสื้อโปโล ผ้าจูติ ผ้าลาคอส Lacoste (TK No.20, TC No.20, TC No.34 เส้นคู่, CVC No.20, 
CVC No.30, TK Link) 
ถ้าท่านสนใจดูสินค้าตัวอย่าง เรายินดีเข้าเสนองาน พร้อมตัวอย่างแบบเสื้อ ทั้งเสื้อยืด เสื้อโปโล และ เสื้อแจ๊คเก็ต เนื้อผ้า และสีผ้าให้ท่าน
เลือกหลากหลายแบบ ปริมาณการผลิตขั้นต่ำไม่มี สามารถคละไซส์ได้ทั้งชายและหญิง เรายังมีบริการขึ้น เสื้อโปโล และ เสื้อยืด ตัวอย่างพร้อมปัก
และสกรีนโลโก้ให้ท่านตรวจสอบความสวยงามจนกว่าจะเป็นที่พอใจ หากดูตัวอย่างแล้ว ไม่ถูกใจ สามารถเปลี่ยนแบบ เปลี่ยนสีได้ 
ท่านจึงมั่นใจได้ว่า งานที่เราผลิตออกมา ถูกใจท่านอย่างแน่นอน
เรามีบริการจัดส่งสินค้าให้ทั่วประเทศ โดยกรุงเทพและปริมณฑล เราจัดส่งให้ถึงที่ ถ้าเป็นลูกค้าต่างจังหวัด เราจัดส่งให้ทางขนส่ง 
(หรือทางอื่นตามแต่ท่านสะดวก)
รายละเอียดขั้นตอนการสั่งผลิตเสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อแจ๊คเก็ต กับเราร้าน รับสกรีนเสื้อยืด ดอท คอม By Sp T-SHIRT&SCREEN
1.ลูกค้าที่สนใจสั่งสินค้า สามารถโทรติดต่อพนักงานขายได้โดยตรง คุณสันต์ 089-696-2966 / คุณปลา 062-595-7944 หรือ 
E-Mail : panoy55555@hotmail.com
เพื่อสอบถามราคา โดยลุกค้า ต้องแจ้งประเภทเสื้อ, เนื้อผ้า, รูปแบบเสื้อ,คอนเซปของงาน,จำนวน,วันที่ต้องการใช้งาน,ลายปักหรือลายสกรีน
ว่างานปักและงานสกรีนกี่สีกี่ตำแหน่ง มาทางอีเมลล์ แล้วทางเรา จะทำใบเสนอราคาส่งกลับไปให้อย่างเร็วที่สุดทาง E-Mail
เบื้องต้น ลูกค้าควรสรุปรายละเอียดต่างๆของเสื้อที่ต้องการใช้ ไว้แล้ว โดยคร่าวๆแยกดังนี้
-กำหนดงบประมาณคร่าวๆ
-จำนวน เสื้อ ที่ต้องการใช้งาน
-สี / แบบ เสื้อ จำนวนในแต่ละสี แต่ละแบบ แต่ละไซส์
-ตำแหน่ง งานปัก และ หรืองาน สกรีน รูปสกรีนหรือปัก โลโก้หรือไฟล์งานอื่นๆเท่าที่มี
-หากไม่มีในข้อด้านบน ต้องแจ้งคอนเซปของงาน รูปแบบการใช้งาน 
เมื่อลูกค้าได้รับใบเสนอราคาและสนใจจะดูผลงานของบริษัท สามารถเข้ามาดูตัวอย่างเนื้อผ้า หรือตัวอย่างงานปักงานสกรีนและขั้นตอน
การผลิตที่ร้านเราได้ 24 ชม. ทางเวปไซท์ http://www.เสื้อยืดแฟชั่นขายส่ง ดอท เนท/ 
หรือหน้าร้านเรา เราเปิดทุกวันจันทร์ ? วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น

แผนที่ร้าน 


2.ลูกค้า สรุปและต้องการสั่งซื้อเสื้อหรือสั่งสกรีนเสื้อหรือสั่งปัก โดยลูกค้า สามารถยืนยันการสั่งซื้อ ที่ทางเรา เสนอไปพร้อมโอนเงินมัดจำ 50% 
ของราคาสินค้าตามรายละเอียดในใบเสนอราคา แล้วโทรแจ้งมายืนยันการโอนเงิน แล้วทางเราจะส่งใบเสร็จมัดจำให้ และเริ่มกระบวนการผลิต
3.ทางร้านรับสกรีนเสื้อยืด ดอท คอม จะดำเนินการขึ้นเสื้อตัวอย่างให้ทันทีหลังจากที่ได้รับการยืนยันการสั่งซื้อและได้รับการ ชำระเงินมัดจำ 50%
และได้รับไฟล์โลโก้ที่จะปัก/สกรีน หรือสรุปลายปักและสกรีนเรียบร้อยแล้ว เราจะใช้เวลาขึ้นเสื้อตัวอย่าง ประมาณ 3-5 วัน แล้วแต่ ความยากง่าย
ของงาน (แต่ถ้างานด่วน โปรดแจ้งทางเราด้วย เราสามารถเร่งเร็วขึ้นได้นิดหน่อย) 
4.ลูกค้าตรวจดูงานตัวอย่าง ทางบริษัทจะถ่ายรูป และ/หรือ ส่งเมล์เสื้อตัวอย่าง พร้อมงานปักละงานสกรีน ให้ลูกค้าตรวจสอบดูความถูกต้อง หากว่า
ถ้ามีจุดไหนที่ต้องการแก้ไข ลูกค้าสามารถ E-Mail หรือโทรแจ้งรายละเอียดที่ต้องการกลับมา เพื่อให้ตรงกับความต้องการและความถูกต้อง
ของคอนเซปงานของลูกค้า 
5.กระบวนการผลิต/ปัก/สกรีน หลังจากได้รับการยืนยันตัวอย่างจากลูกค้า ทางเรา จะดำเนินการผลิตเสื้อ/ทำเสื้อ/ปักและสกรีนเสื้อ ให้ทันที 
และใช้เวลา ในการผลิตประมาณ 5-14 วัน แล้วแต่ความยากง่ายและจำนวนของชิ้นงาน(แต่ถ้างานด่วน โปรดแจ้งทางเราด้วย เราสามารถเร่งเร็วขึ้น
ได้นิดหน่อย) 
6.การส่งมอบสินค้าและชำระเงิน จะมีค่าขนส่ง ในกรุงเทพฯและปริมณฑล เราคิดตามระยะทาง ซึ่งลูกค้า ต้องชำระค่าเสื้อส่วนที่เหลือเป็นเงินสดก่อนการส่ง
โดยโอนเข้าบัญชีธนาคาร (รายละเอียดจะอยู่ด้านล่างของใบเสนอราคา) เมื่อลูกค้าชำระค่าสินค้าส่วนที่เหลือเข้ามาเรียบร้อยแล้ว 
ทางเรา จึงจะบริการจัดส่งสินค้าให้ ในต่างจังหวัด เราจะมีบริการส่ง โดยทางขนส่ง รถตู้ หรือทางรถทัวร์ เราคิดค่าบริการตามจริง 
ซึ่งลูกค้าต้องชำระค่าเสื้อส่วนที่เหลือ โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารก่อนเท่านั้น เราจึงจะจัดส่งให้เช่นกัน ทางขนส่ง เขาจะเก็บค่าส่งที่ปลายทาง 
ส่วนรถตู้และรถทัวร์ ค่าส่งเราจะสรุปให้อีกครั้งก่อนส่ง

ความรู้เรื่องผ้ายืด/ผ้าทำเสื้อ


ยินดีต้อนรับสู่ร้าน Sp T-SHIRT เรื่องผ้ายืดและผ้าที่ใช้ทำเสื้อ ในวงการผ้ายืด เราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านผ้ายืด และผ้าที่ใช้ทำเสื้อ
แทบทุกชนิด เปรียบเหมือนแฟนพันธุ์แท้ เรามีประสบการณ์กว่า 20 ปี และมีความรู้เรื่องผ้ายืดและผ้าที่ใช้ทำเสื้อ ที่จะเอามาอธิบายให้ลูกค้า
ได้รับทราบกัน เริ่มต้นจากว่า ในการทำทั้งหมดของผ้ายืด ทั้ง Supply Chain หรือทั้งกระบวนการผลิต มันมีหน้าตาอย่างไร 
ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง แล้วหลังจากนี้เรา จะเริ่มลงลึกในแต่ละส่วนว่า มีรายละเอียดอะไรบ้าง
กระบวนการโดยรวมในการทำผ้ายืด และผ้าที่ใช้ทำเสื้อ นั้นมีอะไรบ้าง


1. ไฟเบอร์ เส้นใย หรือเส้นด้าย
2. ผ่านกระบวนการปั่น ในโรงปั่น
3. ทอ ผ่านทางเครื่องทอ โดยในเครื่องทอจะมี 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ ทอแบบ Knitting หรือเรียกว่าทอกลม (จะได้ผ้ายืดธรรมดา) 
และการ ทอแบบ Weaving
4. ย้อม
5. ผ้าสำเร็จ หรือFinishing
6. ขายผ้าสำเร็จ
7. ตัดเย็บ
8. ขายเสื้อ
ขั้นตอนการทำผ้า แบบต่างๆ ด้านล่างนี้ก็จะแสดงให้เห็นถึงกระบวนการกว้างๆก่อน พอที่จะได้เห็นภาพลำดับการทำผ้าแต่ละชนิด 
ว่าไม่เหมือนกัน ต่างกันอย่างไร

ผ้ายืดสีพื้นธรรมดา เส้นด้าย >> ทอ >> ย้อม+finishing >> เสร็จ
ผ้าท๊อปดาย เส้นด้าย >> ทอ >> ล้างน้ำ+finishing >> เสร็จ
ผ้าริ้ว Yarn Dyed เส้นด้าย >> ย้อม >> ทอ >> ล้างน้ำ+finishing >> เสร็จ

ในวิธีการทำผ้ายืด และขั้นตอนต่างๆ ยังแยกในรายละเอียดได้ดังนี้
1. เส้นด้าย หรือไฟเบอร์ cotton-plant ก่อนที่เราจะทำผ้าได้นั้น เราจำเป็นต้องรู้จักวัสดุเริ่มต้นในการทำก่อน นั่นก็คือเส้นด้าย
และไฟเบอร์ เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเส้นด้ายแต่ละชนิดผลิตผ้าออกมาแล้วได้เนื้อผ้าเป็นอย่างไร ปกติแล้วไฟเบอร์หรือเล้นด้ายที่ใช้ในการผลิต


ผ้ามีอยู่หลายชนิด ตัวที่นิยมทำผ้ายืดในซอยวัดสน ย่านพระประแดงนั้นได้แก่ (ฝ้าย หรือ Cotton /ทีซี(TC) คือลูกผสม ระหว่าง คอตตอนและโพลี
/โพลี หรือ Polyester หรือพลาสติกหรือใยสังเคราะห์ 100%/เรยอน หรือ Rayon หรือผสมยางยืด/
สเปนเดค หรือSpendec หรือยางยืดส่วนใหญ่) ซึ่งเส้นด้ายนั้นก็ยัง แยกออกอีก หลายขนาด มาทำความรู้จักเส้นด้าย และไฟเบอร์
แต่ละชนิดกัน ว่าไฟเบอร์ เส้นด้าย ที่ใช้ในการทำผ้ายืด และผ้าปกติมีอะไรบ้าง (เอาเฉพาะพวกที่เป็นที่นิยมในวัดสน)
-ฝ้าย หรือ Cotton ฝ้ายก็คือวัสดุหลักในธรรมชาติที่นำมาใช้ปั่นเป็นเส้นด้าย คุณลักษณะของ cotton คือ ระบายความชื้นได้ดี สวมใส่สบาย มีราคาสูง แล้วแต่คุณภาพของฝ้าย โดยดูจาก fiber length ยิ่งฝ้ายมีความยาวมาเท่าไหร่ ก็ยิ่งปั่นเป็นเส้นด้ายได้ดีมากเท่านั้น
-โพลี หรือ Polyester โพลี เป็นใยสังเคราะห์แบบหนึ่งทำออกมาเพื่อเลียนแบบไฟเบอร์ หรือเส้นใย ของฝ้าย แต่ว่าจะยังมีข้อด้อยคือ 
การระบายความชื้นทำได้ไม่ดีเท่ากับฝ้าย จึงอาจจะสวมใส่ไม่สบาย แต่ราคาถูกกว่า
-เรยอน หรือ Rayon เป็นไฟเบอร์ที่สร้างขึ้นโดยการนำเอาต้นไม้มาย่อยสลายในสารเคมี แล้วจึงจำเอาเรยอนเหลวมาฉีดออกมาเป็นไฟเบอร์ 
ผ้าที่ได้มาจากเรยอนจะมีลักษณะทิ้งตัว เหลวๆ นิ่มมาก ทำให้รู้สึกมีมูลค่ามากกว่าผ้าฝ้ายธรรมดา โดยไฟเบอร์เรยอนก็จะมีราคาสูงตามลำดับ 
ปัจจุบัน มีการนำมาผสม ทั้ง เรยอน ผสมโพลี และเรยอน ผสมคอตตอน
เส้นด้าย ยังแยกตามขนาดได้อีกดังนี้ เบื้องต้น แยกเบอร์เส้นด้ายที่นิยมใช้ ได้ดังนี้ 20 24 30 32 35 38 40 45 
ในการปั่นเส้น ก็จะมีการกำหนดความใหญ่ของเส้นด้าย คิดง่ายๆว่า ถ้าอยากจะได้ผ้าบาง ก็ต้องในเส้นด้ายที่เล็ก ถ้าอยากจะได้ผ้าที่หนาก็ต้องใช้เส้นด้ายที่
ใหญ่ การวัดขนาดเส้นด้ายจะทำ ในหน่วยอังกฤษ เรียก NE โดยยิ่งค่ามาก เส้นด้ายจะยิ่งมีขนาดเล็ก
โดยในวงการผ้ายืดปัจจุบันจะใช้เส้นด้าย หลายเบอร์ ขึ้นอยู่กับความนิยม และเกรดของผ้า ตัวอย่างคร่าวๆ การใช้ดังนี้
เบอร์ 20 /32 /40 นิยมใช้กับเกรด Cotton และTC เกรด OE
เบอร์ 20 /32 /40 นิยมใช้กับเกรด Cotton และTC เกรด Semi
เบอร์ 24 /35 /45 นิยมใช้กับเกรด TK
ขนาดของเส้นด้ายจะมีผลต่อความหนาของผ้า โดยความหนาของผ้าจะวัดกันที่น้ำหนักผ้า หรือความหนาแน่นของเนื้อผ้ามีหน่วยเป็น กรัม ต่อ ตาราง
เมตร (g/m2)หรือ หน่วยGsm.
ตัวอย่าง ผ้าเรียบที่ทอแบบ single jersey
ผ้าคอตตอน 100% (Cotton100%)เส้นด้าย No.20 OE น้ำหนักผ้า อาจจะ อยู่ที่ 190 -210 Gsm.
ผ้าคอตตอน 100% (Cotton100%)เส้นด้าย No.32 Semi น้ำหนักผ้า อาจจะ อยู่ที่ 160-180 Gsm.
ผ้าคอตตอน 100% (Cotton100%)เส้นด้าย No.40 Semi น้ำหนักผ้า อาจจะ อยู่ที่ 110-130 Gsm.

2.คุณภาพ ของเส้นด้าย หรือเกรดเส้นด้าย 
คุณภาพ ของเส้นด้าย หรือเกรดเส้นด้าย ขึ้นอยู่กับอะไร


2.1 การวิธีการปั่นเส้นด้าย
ลักษณะการ ปั่นเส้นด้าย จะแตกต่างกันไปตามเครื่องที่ใช้ และกระบรวนการที่ใช้ โดยคร่าวๆนั้น เกรดในการปั่นจะมีดังนี้
คุณภาพเรียงจากต่ำไปสูง
OE >> CARDED >> SEMI-Combed >> Combed >> COMPACT >> ?
โดยทั่วโลก ยังมีคุณภาพที่สูงและต่ำกว่านี้แต่เอาไว้ค่อยอธิบายทีหลัง
จำไว้ได้เลยว่า ผ้าที่ทำจากเส้นด้าย OE ก็มักจะมีคุณภาพที่ต่ำกว่าผ้าจากเส้นด้าย Combed ตามลำดับที่เรียงในผัง
ประเภทการปั่นเส้นด้ายมีอยู่ 2 แบบใหญ่อันได้แก่
- การปั่น ลักษณะแบบ Open End เป็นการปั่นที่ที่จะใช้ลดกระบรวนการปั่นในบางขั้นตอนออกทำให้เส้นด้ายที่ผลิตมามีผลผลิตมาก
ยิ่งขึ้น แต่ว่าคุณภาพของเนื้อเส้นด้ายก็จะไม่สูงนัก ผ้าที่ออกมาจะมีความกระด้างกว่าเส้นด้ายแบบอื่น
- การปั่นแบบ Ring จะมีกระบรวนการผลิตที่ครบถ้วนกว่า OE ทำให้ได้เส้นด้ายที่มีคุณภาพสูงกว่า แต่ในการปั่นแบบ Ring ก็
จะมีแยกคุณภาพออกมาหลายอย่าง โดยขึ้นอยู่กับการปรับความสูญเสียในการผลิตว่าจะให้มีมากน้อยแค่ไหน เช่น
เส้นด้าย Card ก็เป็นการปั่น ring แบบหนึ่งแต่ว่าจะมีการเอาของเสียออกจากกระบรวนการผลิตน้อยทำให้เส้นด้ายมี คุณภาพที่ต่ำ 
มีความกระด้างสูง
เส้นด้าย SEMI-COMBED ก็เป็นการปั่น ring แบบหนึ่งแต่ว่าจะมีการสางของเสียออกจากฝ้ายในระดับหนึ่ง คุณภาพที่ได้ก็จะอยู่
ระดับกลาง ร้านผ้าส่วนใหญ่ในวัดสนนิยมจะใช้เส้นด้ายชนิดนี้
เส้นด้าย COMBED เป็นการปั่นแบบ ring แต่ว่ามีการใช้หวี มาสางเอาของเสียออกจากตัวเนื้อฝ้าย และเนื้อเส้นด้ายมากกว่าปกติ 
ทำให้เส้นด้ายที่ออกมามีคุณภาพสูง และมีความเนียนที่สูงกว่า เส้นด้ายอื่นๆ
2.2 คุณภาพของเส้นใย (ไฟเบอร์)
นอกจากการลักษณะการปั่นแล้ว คุณภาพของเส้นด้ายก็ยังขึ้นกับ คุณภาพของ fiber ที่เอามาใช้ เช่น ฝ้าย ที่ใช้ถ้ายิ่งมี fiber length
ที่มาก (ความยาวไฟเบอร์) ก็จะได้เส้นด้ายที่มีคุณภาพสูง โดยฝ้ายที่ได้รับฉายาว่ามีคุณภาพสูงก็ได้แก่ Egyptian Cotton
Cotton USA แต่ในตลาดวัดสนส่วนมากจะไม่สนใจเรื่องของ fiber length เท่าไหร่ ผ้าส่วนใหญ่ในวัดสน
ใช้เส้นด้ายคุณภาพ อยู่ในระดับ OE,CARDED,SEMI เท่านั้น โดยสาเหตุที่แต่ละร้านมีราคาที่ต่างกันก็มีผลส่วนหนึ่งมาจากตัวคุณภาพ
เส้นด้าย ที่แตกต่างกันแต่ละโรงทออีก.

เส้นด้ายผสมที่มีใช้ในท้องตลาดเป็นอย่างไร
ส่วนผสม หลักที่ใช้ในท้องตลาดทั่วไป โดยเฉพาะวัดสน จะคือ ฝ้าย และ โพลี เพราะว่า ฝ้ายมีราคาแพงกว่า polyester ดังนั้นจึงมีการ
เอามาผสมกันในเนื้อเส้นด้ายให้ราคาต้นทุนต่ำลงได้
อัตราส่วนในการผสมกัน
Cotton Cotton 100%
CVC Cotton 60% + Poly 40%
TC Cotton 35% + Poly 65 %
TK Poly 100%
เมื่อนำเส้นด้ายมาทำผ้าแล้ว แยกจากเกรดและเบอร์ ทำให้ค่อนข้างหลากหลาย และอาจจะได้เนื้อผ้ายืดหลายชนิด 
แต่สำหรับเนื้อผ้ายืดที่นิยมนำมาทำเสื้อในปัจจุบันนี้ แยกหลักๆ มีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้ 
ผ้าCotton , ผ้าTC, ผ้าTK มีความเหมือนและความต่างกันอยู่ ที่เรียกต่างกันเพราะส่วนผสมแตกต่างกัน

1. ผ้าcotton เป็นผ้าที่ผลิตจากเส้ยใยฝ้าย 100% เนื่องจากระบายความชื้นดี จึงทำให้ผ้าชนิดนี้ ใส่สบาย นุ่ม ระบายความร้อน 
ใส่แล้วไม่อึดอัด และยังซับเหงื่อได้ดีอีกด้วย เรียกว่าเป็นผ้ายืดคุณภาพดี เนื่องจากผ้าคอตต้อนผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ 100% 
จึงทำให้ควบคุมการหดการย้วยได้ยาก เสื้ออาจจะมีการหดหรือเสียทรงหลังจากที่ซักแล้ว เรียกว่ายิ่งซักก็ยิ่งหด ยิ่งหด ที่หลายคนว่าซื้อ 
sizeใหญ่แล้ว ซักไปซักมาทำไมมันหด ก็เพราะอย่างนี้นี่เอง ถึงจะมีข้อเสียอยู่บ้าง แต่ด้วยความที่ใส่สบาย ผ้าคอตต้อนจึงเป็นที่นิยม
ถึงแม้ว่าราคาจะแพงกว่าก็ตาม

2. ผ้าTC เป็นผ้าที่ผลิตจากวัสดุสองชนิดผสมกัน คือฝ้าย(cotton)ผสมกับ ใยสังเคราะห์(Polyester)สวมใส่สบาย 
ไม่ยืดไม่หด ความสบายจะลดลงนิดนึง เพราะว่ามีใยผ้าผสมกัน2ชนิด จะร้อนกว่าผ้าคอตต้อนนิดหน่อย เพราะมีส่วนผสมของใยสังเคราะห์
(Polyester)

3. ผ้าTK ทำมาจากใยสังเคราะห์ ที่ผลิตขึ้นได้ เหมาะกับการทำผ้ากีฬา ใส่แล้วจะร้อน แถมเป็นขุยๆ เหมาะกับเสื้อกีฬามากกว่า 
และไม่เหมาะกับการใส่เป็นประจำ
นอกจากนี้ยังมีเส้นด้ายอื่นๆอีก ดังนี้
เส้นด้าย Top Dyed หรือว่า Melange Yarn หรือผ้าทอปดราย อาจจะรวมในกลุ่มของ TCก็ได้ แต่กลับไม่นิยม
เรียกดังนั้น เพราะ ปกติการปั่นเส้นด้าย จะทำเส้นด้ายออกมามีสีขาวดิบ เพื่อรอไปทำการย้อมที่ผ้า หรือว่าย้อมที่เส้นด้ายต่อไป 
แต่การทำเส้นด้ายท็อบดาย์จะต่างตรงที่เส้นด้ายที่ออกมาจะมีสีเลย โดยเกิดจากการนำเอาไฟเบอร์ที่ผ่านการย้อมสีแล้ว ไปผสมกับไฟเบอร์ที่
ไม่ผ่านการย้อมสี ภายใต้กระบรวนการปั่น จึงทำให้สีที่ออกมามีสีเหลีอบไม่สม่ำเสมอ ซึ่งก็เป็นแนวที่ตลาดพอใจ สี ต่างๆสามารถกำหนด
ได้จากการสีไฟเบอร์สีต่างๆกันไป ในจำนวนที่แตกต่างกัน เช่นต้องการสีเทาเหลือบ CA ก็ให้ผสมไฟเบอร์สีดำ 10% ปั่นกับ ไฟเบอร์สีขาว 90%
เส้นด้าย Yarn Dyed หมายความว่าอะไร
เส้นด้าย Yarn Dyed คือเส้นด้ายที่ผ่านกระบรวนการย้อมสีแล้ว เหมาะสำหรับการนำเอาไปทอผ้าแบบริ้ว แต่ราคาของเส้นด้ายก็จะสูงกว่า
ปกติเพราะมีต้นทุนเรื่องการย้อมสีเพิ่มเข้าไป
เส้น ด้าย Fancy หมายความว่าอะไร
เส้นด้ายแฟนซี โดยนิยามนั้นคือเส้นด้ายที่มี effect ความแปลกประหลาดใส่เข้าไปในกระบรวนการผลิต โดยแต่ละผู้ผลิตก็จะมีเทคนิคในการ
ผลิตของตัวเอง อาจจะมีการนำเอาส่วนผสมที่แปลกๆเช่น เม็ด Nep, ห้ว EEL, เส้นด้ายเงาๆ ผสมเข้าไปในขั้นตอนการปั่น ทำให้ได้เส้นด้าย
ที่มีความพิเศษในตัวของมันเอง
เส้นด้ายตี เกลียว เช่น 20/2 หรือว่า 30/2 คืออะไร
เส้นด้ายตีเกลียว เกิดจากการเอาเส้นด้ายอย่างน้อย 2 เส้นมาตีเกลียว ให้เส้นด้ายมีความใหญ่ขึ้นให้เหมาะสมกับการนำเอาไปใช้งาน โดยอาจจะเป็น
เส้นด้ายชนิดเดียวกันหรือ ต่างชนิดเข้ามาผสมกันเข้ามาก็ได้ เส้นด้าย 20/2 หมายความว่า นำเอาเส้นด้ายขนาดเบอร์ 20 มา 2 เส้นมาตีเกลียวกันทำให้
ได้เส้นด้ายที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นสองเท่า

การทอผ้าสำหรับทำเสื้อ


รูปแบบการทอผ้าสำหรับทำเสื้อ แยกออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ดังนี้
- ทอกลม Knitting ทำผ่านทางเครื่องทอกลม (circular knitting) ทำให้ได้ผ้าแนวผ้ายืด 90%ขอผ้าที่อยู่ในวัดสน 
จะเป็นผ้ายืดแบบนี้
- ทอธรรมดา Weaving ต้องมีการวางเส้นด้ายยืน แล้วก็พุ่งเส้นด้ายแนวขวาง ทำให้เกิดผ้าที่เป็นผ้าทำเสื้อเชิ้ต แต่เนื่องจากเราสนใจแต่เรื่อง
ของผ้ายืด ดังนั้นเราจะไม่พูดถึงการทอผ้าแบบ weaving ในที่นี้

ลักษณะของเครื่องทอกลมเป็น อย่างไร
เครื่องทอกลมจะมีการเอาเส้นด้ายมาวางรอบๆเครื่อง เช่น 100 ลูก หรือ 120 ลูก แต่ละลูกจะดึงขึ้นไปยังเข็มทอ feeder

รูป แบบการทอ
single jersey ? การทออย่างนี้จะได้ผ้าเรียบ หรือในท้องตลาดเรียกว่าผ้า single
RIB - ทอจะได้ผ้า RIB หรือว่าผ้าหล่อบุ้ง จะมีรูปแบบย่อยในการทออีกเช่น Rib1x1, Rib2x2 ซึ่งจะได้รูปแบบข้องผ้าที่่มีแนวแตกต่างกันไป เหมาะสำหรับการทำ คอเสื้อยืด หรือเสื้อผู้หญิงที่มีความยืดหยุ่น
Lacoste - ผ้ามีลักษณะเป็นตาๆ เหมาะสำหรับทำเสื้อโปโล เกิด effect จากการทำชักเข็ม
จูติ - ผ้าลักษณะคล้ายกับ Lacoste เหมาะสำหรับทำเสื้อโปโล ต้องดูจากตัวอย่างผ้าจริงจะเห็นความแตกต่างชัดเจน
Interlock - ผ้าลักษณะคล้ายกับ Lacoste เหมาะสำหรับทำเสื้อโปโล ต้องดูจากตัวอย่างผ้าจริงจะเห็นความแตกต่างชัดเจน

การทอสลับ
การ นำเราเส้นด้าย 2 ตัวขึ้นไปมาทอสลับที่ความถี่สูงๆ เช่น หนึ่งเส้นต่อหนึ่งเส้น โดยจะทำให้ผ้าที่ได้ออกมามีลวดลายที่ไม่ต่างจากการทอเต็มนัก 
แต่สามารถจะลดต้นทุนในเรื่องของเส้นด้ายไปได้ส่วนหนึ่งถ้ามีการทอสลับกันระ ห่างเส้นด้ายราคาถูก และเส้นด้ายราคาแพง
โดยมากสินค้าของก้องเกียรติซึ่ง เป็นเส้นด้ายที่มีราคาจะนำเอามาสลับกับเส้นด้ายที่มีราคาปกติ เพื่อทำให้ผ้าที่ได้ออกมามีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงแต่
ยังคงรักษาเอกลักษณ์ ความเป็นแฟนซีของเส้นด้ายเอาไว้ได้

น้ำหนักผ้าผืด (กรัม ต่อ ตารางเมตร)
น้ำหนักผ้าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ควบคุมความหนา ความบางของผ้า โดยเกิดจาก ขนาดของเส้นด้ายที่ใหญ่หรือเล็ก และการทอผ้าที่จะทำให้แน่นกว่าปกติ 
หรือบางกว่าปกติ นอกจากนี้สีที่ใช้ใน การย้อม และรูปแบบการทอก็ยังมีผล เช่น ที่เส้นด้ายเบอร์ 30 เอามาทำ Single ก็ได้จะได้ผ้าที่บางกว่า 
การทอแบบ Lacoste ตัวอย่างผ้าเรียบที่ทอแบบ single jersey 
ผ้าคอตตอน 100% (Cotton100%)เส้นด้าย No.20 OE น้ำหนักผ้า อาจจะ อยู่ที่ 190 -210 Gsm.
ผ้าคอตตอน 100% (Cotton100%)เส้นด้าย No.32 Semi น้ำหนักผ้า อาจจะ อยู่ที่ 160-180 Gsm.
ผ้าคอตตอน 100% (Cotton100%)เส้นด้าย No.40 Semi น้ำหนักผ้า อาจจะ อยู่ที่ 110-130 Gsm.

ตัวอย่างผ้า Lacoste
เส้นด้าย No.20 น้ำหนักผ้าอยู่ที่ 230 Gsm.
เส้นด้าย No.32 น้ำหนักผ้าอยู่ที่ 180 Gsm.
เส้นด้าย No.40/2 น้ำหนักผ้าอยู่ที่ 230 Gsm. (เพราะเส้นด้ายเบอร์ 40/2 มีขนาดเทียบเท่ากับเส้นด้ายเบอร์ 20)

ผ้าดิบ หมายถึง ผ้าที่ผ่านกระบรวนการทอเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้ผ่านกระบรวนการฟอกย้อม เพื่อทำเป็นผ้าสำเร็จ
ผ้าสุก หมาย ถึง ผ้าที่ผ่านกระบรวนการฟอกย้อมเรียบร้อยแล้ว เป็นผ้าที่พร้อมนำไปใช้ในการตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าได้ทันที

การทอ ผ้าริ้ว
ในการทอผ้าริ้วนั้นมีวิธีการทำงานอยู่ 2 รูปแบบ
1. ใช้ Yarn dyed หรือเส้นด้ายย้อมสีแล้ว มาทำการทำขัดกันระหว่างสีหนึ่งกับ อีกสีหนึ่ง ข้อดีคือ จะได้ผ้าที่มีเนื้อวัตถุดิบชนิดเดียวกัน 
ไม่จำกัดสีในการขัดริ้ว ข้อเสีย ราคาจะแพง เพราะว่าต้องมีการย้อมสีที่ตัวเส้นด้าย และจะมีการสูญเสีย เนื่องจากการเหลือเศษเส้นด้ายเยอะมาก
2. การใช้เส้นด้ายต่างชนิด ที่มีความสามารถในการดูดกลืนสีที่ต่างกันมาทอคู่กัน ตัวอย่างเช่น เอาเส้นด้าน Cotton 100% มาทอที่ริ้วแรก 
แล้วเอาเส้นด้าน Polyester 100% (TK) มาทอที่ริ้วถัดมา เมื่อนำเอาผ้ายืดผืนสำเร็จนั้นไปทำการย้อมที่สี Reactive 
ซึ่งจะติดบนเนื้อ cotton เท่านั้น ก็จะทำให้ได้สีที่ส่วน cotton แต่ส่วน polyester ยังเป็นสีขาวเดิม ของมันอยู่ 
ถ้าเราใช้วิธีนี้ก็จะทำการใส่สีลงที่ผ้าเท่านั้น
ข้อดีก็คือ ราคาถูก ไม่ต้องทำ Yarn Dyed จัดการกับ stock ผ้าดิบอย่างเดียว
ข้อเสียก็คือ เนื้อผ้าจะต้องเป็น Cotton ผสม Polyester เท่านั้น, การตกของสีจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่ง, สีจำกัดได้แค่ 2 สี 
(ส่วนใหญ่ผ้ายืดริ้วในวัดสนจะใช้วิธีการทำนี้ทำให้ได้ผ้ายืดที่มีส่วนผสม 50%cotton + 50%polyester)

การ ทอริ้ว Feeder กับ ริ้ว Auto(ริ้ว engineer)
ริ้ว Feeder คือการใช้เครื่องทอกลมธรรมดามาสร้างให้เกิดริ้ว ข้อจำกัดคือ ริ้ว 1 repeat จะมีขนาดได้ไม่เกินความใหญ่ของ feed 
การทอ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 3 นิ้ว ดังนั้นถ้าริ้ว repeat หนึ่งใหญ่กว่านั้นก็จะทำไม่ได้ ข้อดีคือ ค่าใช้จ่ายในการทอเท่ากับการทอธรรมดา
ริ้ว AUTO(ริ้ว engineer) คือการใช้เครื่องพิเศษที่ออกแบบมาให้สามารถทอริ้วที่มี Repeat ขนาดใหญ่ได้ โดยตัวเครื่องอาจจะ
ต้องมีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน ข้อดีคือ ไม่มีขีดจำกัดในการทอริ้ว ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายแพงมาก มีคนที่รับทำน้อย

การทอ Body Size
คือการทอกลมแบบหนึ่งที่จะทำให้ผ้ายืดที่ได้ออกมามีขนาด เท่ากับ ตัวเสื้อเลย โดยไร้ตะเข็บ เพราะว่าผ้ายืดที่ออกมามีขนาดเท่ากับตัวเสื้อเลย 
เช่น เส้นผ้าศูนย์กลาง 15,16,17,18,20,22 นิ้ว มันจะทำให้ง่ายต่อการตัดเย็บ
แต่ข้อเสียก็คือ การทอมันจะ fix size มากเกินไปทำให้เอาผ้านั้นไปทำอย่างอื่นได้ยาก นอกจากเอาผ้ามาทำเสื้อยืด

- การย้อมผ้ายืด
knitting-machine การย้อมผ้าก็คือ การทำให้ผ้ามีสีตามที่ต้องการ ซึ่งจะมีการทดลองทำสีก่อน ( Lab) วิธีการย้อมสีของผ้า
ในแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันออกไป? สีที่ใช้ในการย้อมนั้นก็มีให้เลือกมากมายตามต้องการ รายละเอียดของสีที่ใช้ในการย้อมผ้า และคุณภาพ
ของสีย้อมเป็นอย่างไรนั้น

การตัดเย็บเสื้อ
สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มธุรกิจเสื้อผ้า หลายคนๆ อาจจะไม่รู้ว่า ก่อนที่จะเริ่มธุรกิจนี้เรา จำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง ดังนั้นวันนี้เราจึงอยากมาอัพเดท 
ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับคนที่อยากจะมีร้านขายเสื้อผ้าของตัวเอง

ก่อนทำร้านเสื้อผ้าของตัวเอง สิ่งที่ต้องรู้ คือ

- การเลือกผ้า เนื้อผ้าแบบไหนที่เราต้องการ เช่นว่า ตอนนี้เมืองไทยอากาศกำลังร้อนอยู่ เสื้อกล้าม น่าจะขายดี จึงอยากทำเสื้อกล้ามขายในร้าน 
คำถามก็คือ เนื้อผ้าแบบไหนหล่ะ ที่เหมาะกับหน้าร้อน ซึ่งที่จริงแล้ว ทั่วไปคนซื้อผ้าส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกใช้เนื้อผ้า Cotton เบอร์ 32 
ในการตัดเสื้อ เพราะว่าเป็นเนื้อผ้าที่ไม่บางแล้วก็ไม่หนาจนเกินไป หาซื้อได้ง่าย ส่วนบางคนที่อยากได้เนื้อผ้าแบบบางเฉียบ ก็ต้องเป็นเบอร์ 40 
แต่ว่าก็ไม่ค่อยนิยมกันสักเท่าไหร่ เพราะราคาจะค่อนข้างแพง

- เมื่อเลือกและซื้อผ้าได้แล้วคำถามต่อไป ก็คือ แล้วเราจะทำ แพ็ทเทิร์น กับตัดเย็บที่ไหนดีหล่ะ เอาหล่ะ คำถามก็เริ่มมาเป็นชุดๆ แล้วสินะ
เริ่มต้นก็คือ เราจำเป็นที่จะต้องหาช่างตัดเย็บที่อยู่ใกล้ๆบ้านเรา นั่นแหล่ะ ดีที่สุด เพราะว่า เมื่อเวลาเรามีปัญหากับงานตัดเย็บของเรา เราก็จำเป็น
ที่จะต้องวิ่งไปดูงาน ที่ร้านตัดเย็บใช่มะ หรือว่า ถ้าอะไหล่ตกแต่งเสื้อเราขาด เราก็ต้องวิ่งเอาของไปให้ ดังนั้นหาที่สะดวกเราไว้นั่นแหล่ะดีที่สุด

- เมื่อได้ช่างตัดเย็บแล้ว เราก็จำเป็นต้องหาช่างแพ็ทเทิร์นด้วย เพราะว่าเสื้อผ้าเราจะสวยหรือไม่นั้น แพ็ทเทิร์นก็ถือเป็นปัจจัยหลัก ที่สำคัญมากๆ 
เลยทีเดียวก็ว่าได้ เสื้อตัวอย่างเราออกมาสวย เมื่อตัดเย็บออกมาแล้ว มันก็จะดูดี พูดถึงเรื่องค่าแพ็ทเทิร์น พร้อมขึ้นตัวอย่าง โดยมาตรฐานจะ
อยู่ที่ประมาณ 300-500 บาท แล้วแต่ความเก่งกาจของ ช่างแพ็ทเทิร์น ซึ่งเราไม่อาจจะรู้ได้เลยว่า เค้าเก่งจริงรึเปล่า นอกจากว่า จะลองเอาแบบเสื้อ
ที่เราอยากจะได้ ไปให้เค้าลองขึ้นดู (ทูกอย่างต้องลองนะ) เมื่อได้แพ็ทเทิร์นเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องเอามันส่งไปให้กับร้านตัดผ้า ที่เราดิวงานด้วย

- ช่างตัดผ้าก็จะเอาผ้าที่เราซื้อมา ไปปูบนโต๊ะตัดอีก ที ซึ่งโดยทั่วไป โต๊ะตัดหน้ากว้างจะอยู่ ประมาณ ที่ 40 นิ้ว หน้าผ้าเราก็อยู่ที่ประมาณ 36-38 นิ้ว เป็นผ้าอบกลม เค้าก็จะปูทบไปทบมาบนโต๊ะ แล้วก็วางแพ็ทเทิร์นบนผ้า พร้อมลงมือตัด ด้วยเครื่องตัดอีกที ก็ต้องใช้ฝีมือกันเล็กน้อยอ่ะนะ แต่โต๊ะตัดที่มีฝีมือจริงๆ จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการวางแพ็ทเทิร์นไปบนผ้าผืน ด้วยนะ ไม่งั้นจะทำให้เสียเศษผ้าเยอะ จำนวนตัวที่ตัดได้ ก็จะน้อยตามไปด้วย เราต้องคอยเน้นย้ำ คนตัด ให้เค้าช่วยตัดแบบประหยัดๆ ผ้าเราหน่อยนะ จะได้จำนวนตัวเยอะๆๆ ค่าตัดก็อยู่ที่ ประมาณ 2-3 บาท ถ้าจำนวนตัวเยอะ ค่าตัดก็จะ ถูกลง มันก็เป็นเรื่องปกติอ่ะนะ ที่ว่าถ้าทำสินค้าปริมาณเยอะ ต้นทุนก็จะถูกลงตามกัน

- อธิบายอย่างง่าย ๆ คือถ้าเราอยากรู้จริงๆ ว่าผ้า 1 กิโล หรือ 3 หลากว่า ๆ เนี่ย ตัดได้กี่ตัว พื้นฐานง่ายๆ เลย ก็คือ เอาแพ็ทเทิร์นมากางปูไปบนผ้าเลย 
รับรอง รู้แน่นอนว่า ได้เสื้อกี่ตัว แต่รู้คร่าว ๆ ไว้หน่อยก็ดี เป็นต้นว่า ผ้า 1 โลจะตัดได้เสื้อกล้ามได้ 6 ตัวดังนั้น ผ้า 1 พับมี 20 กิโล ก็จะตัดได้
โดยประมาณ 120 ตัว หรือถ้าจะตัดเสื้อยืดคอกลมธรรมดา size M ผ้า 1 กิโลก็ จะตัดได้ 4 ตัว รวม ๆ 1 พับก็ได้ 80 ตัว เป็นต้น

- เมื่อตัดผ้าเรียบร้อยแล้ว ก็ส่งเย็บ ค่าเย็บก็แล้วแต่ช่างว่าเค้าจะคิดเราเท่าไหร่ แต่โดยทั่วไปถ้าตัดแค่เสื้อกล้ามธรรมดา ก็จะอยู่ที่ประมาณ 8-10 บาท
แต่ถ้าเป็นเสื้อแฟชั่น ราคาก็จะแพงขึ้นอีก เพราะว่าอะไหล่เสื้อมีหลายชิ้น แล้วราคาก็แล้วแต่ความยากง่ายของงาน ถ้ายากเค้าก็จะเรียกเราแพง

คำแนะนำเพิ่มเติม 
ทางที่ดี ควรที่จะต้องหา โรงตัดเย็บที่ มีทั้งโต๊ะตัดแล้วก็เย็บอยู่ในที่เดียวกัน อันนี้น่าจะดีกว่า ไม่งั้นเราต้องรับส่งงาน จากอีกที่ไปอีกที่นึง
ก็จะยุ่งยากมาก หรือบางที่ ในละแวกนั้น จะมีทั้งโต๊ะตัด เย็บ และสกรีนอยู่ใกล้ๆ กัน ก็จะดี เพราะเค้าจะรับส่งงานกันเองเลย แบบนี้ก็จะสบายเราหน่อย

**แต่ที่จะทำให้ง่ายมากๆเลย สำหรับขั้นตอนการทำเสื้อ เพียงคุณส่งคอนเซปงาน และจำนวนมาทางอีเมลล์เรา คุณจะได้บทสรุปการทำเสื้อ**

หน้าที่คุณ คือรอเสื้อเสร็จ อย่างเดียว ที่เหลือ คือหน้าที่ของเราร้าน รับสกรีนเสื้อยืด ดอท คอม By M&I T-SHIRT&SCREEN
ลูกค้าที่สนใจสั่งสินค้า สามารถโทรติดต่อพนักงานขายได้โดยตรง 
คุณสันต์ 089-696-2966 / คุณปลา 062-595-7944 หรือ

E-Mail : panoy55555@hotmail.com

Line : 089-696-2966 ID:sonmandi

Line : 062-595-7944 ID:panoy_1892

Facebook  :https://www.facebook.com/sptshirtwholesale/

http://www.pantipmarket.com/

http://www.pantipmarket.com/

http://www.pantipmarket.com/


( รับรองร้านค้าโดยกระทรวงพาณิชย์)

 



เสื้อยืดขายส่งรับทำเสื้อรับสกรีนเสื้อยืดเสื้อยืดรับสกรีนเสื้อเสื้อขายส่งสกรีนเสื้อรับปัก
สินค้าแนะนำ
บทความ