ขายรากโกฐเชียงแห้ง สมุนไพรแก้สะอึก,สมุนไพรแก้ไข้, สมุนไพรแก้ไอ ,กุยบ๊วย (จีน) Lovage , ตังกุย(จีน) 091-516-1399 |
฿ไม่ระบุ |
รายละเอียดสินค้า
ราก โกฐเชียง แห้ง
ราก - รสหวานสุขุม
- แก้สะอึก
สนใจสั่งซื้อ และสอบถามข้อมูลได้ที่
คุณพิม 087-035-7737 // 091-516-1399
คุณพิม 087-035-7737 // 091-516-1399
โกฐเชียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Angelica sinensis (Oliv.) Diels
ชื่อวงศ์ : Umbelliferae
ชื่อพ้อง : Angelica polymorpha Maxim. var. sinensis Oliv.
ชื่ออื่น : กุยบ๊วย (จีน) Lovage ตังกุย(จีน)
ลักษณะ :
โกฐเชียงเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรงสีเขียวอมม่วง สูงประมาณ 0.4-1 เมตร รากอวบหนารูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก
ใบเดี่ยว หยักลึกแบบขนนก 2-3 ชั้น รูปไข่ กว้างประมาณ 25 ซม.แฉกใบมีก้านเห็นเด่นชัด มักแยกเป็นแฉกย่อย 2-3 แฉก ขอบใบจักฟันเลื่อยไม่สม่ำเสมอ ก้านใบยาว 5-20 ซม. โคนแผ่เป็นครีบแคบๆ สีเขียวอมม่วง
ช่อดอกออกแบบซี่ร่มเชิงประกอบ ตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ มีช่อย่อยขนาดไม่เ่ท่ากัน 10-30 ช่อย่อย ก้านช่อดอกยาว 8-10 ซม. ใบประดับมีไม่เกิน 2 ใบ ดอกสีขาวหรือแดงอมม่วง มี 13-15 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ
ผล แบบผลแห้งแยก กว้าง 3-4 มม. ยาว 4-6 มม. สันด้านล่างหนาแคบ ด้านข้างมีปีกบาง กว้างเท่ากับความกว้างของผล มีท่อน้ำมันตามร่อง ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่นำมาใช้คือราก (โกฐเชียงในตำรายาไทยหมายถึงส่วนที่เป็นรากฝอย )
รสหวานสุขุมบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ป้องกันตับ และต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไตและอื่นๆ
รากแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนรากแขนงเป็นไม้พวกโสมสีน้ำตาลเหลืองและ รากฝอย รากทั้งหมดยาวประมาณ 2-4 ซม. เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลส้ม ผิวไม่เรียบ มีรอยควั่นเป็นวงๆ มีต่อมน้ำยางสีน้ำตาลหรือสีเหลืองแกมแดงออกเป็นแนว รัศมีจากกลางเหง้า ส่วนที่เป็นเนื้อมีสีเหลือง มีรูพรุน มีแกนสีขาว มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะ ฉุน รสหวาน ขมและเผ็ดเล็กน้อย สารสำคัญคือ น้ำมันหอมระเหย กรดวาเรอริก แอนเจนลิซิน วิตามันบี 12 วิตามินเอ
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย:
แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ไอ แก้หอบ แก้เสียดแทงสองราวข้าง รักษาความผิดปกติของประจำเดือน ปวดประจำเดือน ใช้รักษาอาการปวดท้อง ปวดข้อ และอาการปวดหลังจากการผ่าตัด แก้ท้องผูก ตับอักเสบเรื้อรัง บำรุงโลหิต กระจายโลหิต
จีนนิยมใช้โกฐเชียงมาก “รากแก้วส่วนบน” จีนเรียก “ตังกุยเท้า” ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ส่วนรากแขนงนั้นจีนเรียก (ตัง)กุยบ๊วย ใช้เป็นยาขับระดู แพทย์แผนจีนใช้เครื่องยาชนิดนี้ในยาเกี่ยวกับโรคเฉพาะสตรี เช่น อาการปวดเอว ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะขาดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ เป็นยาขับประจำเดือน แก้รกตีขึ้น แก้ไข้บนกระดานไฟ เกี่ยวกับอาการเลือดออกทุกชนิด แก้หวัด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ตกมูกเลือด สตรีจีนนิยมใช้โกฐเชียงเป็นยากระตุ้นอวัยวะเพศ เพื่อให้ปรนนิบัติสามีได้ดีและเพื่อให้มีลูกดก ใช้ในภาวะขาดน้ำ ความผิดปกติของเส้นประสาท
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้โกฐเชียงในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 3 ตำรับ คือ
1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐเชียงอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของโกฐเชียงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ
โกฐเชียงเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ พืชชนิดนี้ปลูกมากในประเทศจีน โดยเฉพาะในป่าดิบตามภูเขาสูงของมณฑลไต้หวัน มณฑลส่านซี และมณฑลยูนนาน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐเชียงจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก
เครื่องยา“พิกัดโกฐ” ประกอบด้วย “พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต “พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก “พิกัดโกฐทั้ง 9” (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย
ในตำรับยาพระโอสถพระนารายณ์: มีตำรับ “ยาทรงนัตถุ์” ขนานหนึ่งประกอบด้วยสมุนไพร 15 ชนิด รวมทั้งโกฐเชียงด้วย โดยนำตัวยาทั้งหมดบดเป็นผงละเอียดรวมกัน ใช้สำหรับนัตถุ์ ใช้ดมแก้ปวดหัว แก้วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้:
การแพทย์แผนจีน ใช้ขนาด 6-12 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
การเตรียมตัวยาพร้อมใช้มี 7 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 ตังกุย (ทั้งราก หรือ ทุกส่วน) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด
ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม ฝานเป็นแผ่นบาง ๆ และนำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 2 ตังกุยโถว (ส่วนหัว หรือ ส่วนเหง้าอวบสั้นที่อยู่ตอนบนสุด) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนหัวมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆประมาณ 4-6 แผ่น ต่อหัว (หรืออาจฝานตามยาวเป็นแผ่นบาง ๆ) นำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 3 ตังกุยเซิน หรืออาจเรียกว่า ตังกุย (ส่วนรากแก้วหลัก) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม ปอกเอาเปลือกรากทิ้ง เอาเฉพาะส่วนรากแก้วหลัก นำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 4 โกฐเชียง หรือ ตังกุยเหว่ย (ส่วนหาง หรือ ส่วนรากฝอย) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม แยกเอาเฉพาะส่วนรากฝอย ฝานเป็นแผ่น และนำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 5 ตังกุยผัดเหล้า เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ใส่ในภาชนะที่เหมาะสม เติมเหล้า
เหลืองปริมาณพอเหมาะ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน จนกระทั่งเหล้าแทรกซึมเข้าไปในเนื้อตัวยา จากนั้นนำไปผัดโดยใช้ไฟระดับปานกลาง ผัดจนกระทั่งตัวยามีสีเหลืองเข้ม นำออกจากเตา ตากให้แห้งในที่ร่ม (ใช้เหล้าเหลือง 10 กิโลกรัม ต่อตัวยา 100 กิโลกรัม)
วิธีที่ 6 ตังกุยผัดดิน (เป็นดินที่อยู่ในเตาเผาไฟเป็นระยะเวลานานมาก มักมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน คนจีนเรียกดินชนิดนี้ว่า ฝูหลงกาน) เตรียมโดยนำดินใส่ในภาชนะที่เหมาะสม ผัดจนกระทั่งดินร้อน ใส่ตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ลงไป ผัดจนกระทั่งดินเกาะติดตัวยาจนทั่ว นำออกจากเตา ร่อนเอาดินออก นำตัวยาที่ได้ไปวางแผ่ออก ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น (ใช้ดินฝูหลงกาน 30 กิโลกรัม ต่อตัวยา 100 กิโลกรัม)
วิธีที่ 7 ตังกุยถ่าน เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ใส่กระทะ ผัดโดยใช้ไฟระดับปานกลาง
ผัดจนกระทั่งผิวนอกของตัวยามีสีดำจาง ๆ นำออกจากเตา ตากให้แห้งในที่ร่ม
คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก:
ตัวยาที่มีคุณภาพดี ผิวนอกต้องมีสีน้ำตาลเหลือง ชุ่มชื้นเป็นมัน ด้านหน้าตัดสีขาวอมเหลือง และ
มีกลิ่นหอมกรุ่น
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และอาการข้างเคียง:
สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร หรือผู้ที่ระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน อาเจียนเป็นเลือด
ไม่ควรรับประทาน
ที่มา
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=30
http://www.weherb.net/wizContent.asp?wizConID=115&txtmMenu_ID=7
http://www.lookfordiagnosis.com/mesh_info.php?term=Angelica+sinensis&lang=1
http://goo.gl/JdCJY
สมุนไพรแก้ไอเนาวโกฐขายรากโกฐเชียงแห้งรากโกฐเชียงแห้งเบญจโกฐสมุนไพรแก้ไข้ตัวยาสมุนไพรพิกัดโกฐทั้งโกฐเชียงสมุนไพรแก้สะอึกสัตตะโกฐ