ขายรากโกฐก้านพร้าว ,ตัวยาสมุนไพรแห้งแก้ไข้,แก้หอบ, พิกัดโกฐทั้ง 5,7,9 , กะฎุกะ, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, โอ่วไน้

฿ไม่ระบุ
รายละเอียดสินค้า
โกฐก้านพร้าว
 
ราก  - รสเย็น
       - แก้ไข้,แก้หอบ
 
 
สนใจสั่งซื้อ และสอบถามข้อมูลได้ที่
คุณพิม 087-035-7737  //  091-516-1399
 
 
 
 
 

โกฐก้านพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Picrorhiza kurroa Benth.
ชื่อวงศ์ :  Scrophulariaceae
ชื่อพ้อง : Veronica lindleyana Wall, Picrorrhiza lindleyana (Wall.)Steud
ชื่ออื่น :   กะฎุกะ, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, โอ่วไน้

 เหง้าแห้ง  มีลักษณะกลมยาว  ยาวประมาณ  3-6  ซม.  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 - 1 ซม.  มีลักษณะคล้ายก้านย่อยของช่อดอกมะพร้าวเมื่อช่อดอกนั้นติดลูก  ที่เรียกกันว่า  “หางหนูมะพร้าว”  มี 5-8  ข้อ  แต่ละข้อมีขน ผิวนอกมีสีน้ำตาลแกมเทาเข้ม  มีวง ๆ อันเป็นแผลเป็นของตา   มีตาและมีส่วนของลำต้นติดอยู่บ้าง  เนื้อนิ่ม  รากมีรอยย่นตามแนวยาว  มีรอยแตกตามขวาง  และมีรอยแผลเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลเป็นจุด ๆ ที่รอยหักแข็ง  เนื้อในสีดำ  มีรสขมจัด  มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

สรรพคุณ:
ตำราสรรพคุณยาโบราณของไทย: ใช้แก้ไข้เรื้อรัง  และแก้ไข้ซึ่งมีอาการให้สะอึก  แก้หอบ  แก้เสมหะเป็นพิษ  โกฐก้านพร้าวเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง  7  และโกฐทั้ง  9
ตำราอายุรเวทของอินเดียกล่าวว่า  ถ้าใช้ในขนาดต่ำ ๆ  จะมีสรรพคุณบำรุงธาตุทำให้เจริญอาหาร  และเป็นยาระบายอ่อน ๆ  แต่ถ้าใช้มากจะเป็นยาบำรุง  และเชื่อกันว่าเป็นยาแก้ไข้จับสั่น  และเป็นยาขับน้ำดี
ราก รสเย็น แก้ไข้  แก้ไข้ซึ่งมีอาการให้สะอึก  แก้สะอึก  แก้หอบเพราะเสมหะเป็นพิษ แก้อาเจียน แก้ลม แก้กำเดา

บัญชียาจากสมุนไพร: 
ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้โกฐก้านพร้าวในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐก้านพร้าวอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง

โกฐก้านพร้าวเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของป่าหิมพานต์จากแคชเมียร์ถึงแคว้น สิกขิมของประเทศอินเดีย  มีการปลูกที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  เขตปกครองตนเองทิเบต  เนปาล  และศรีลังกา และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ”    โกฐก้านพร้าว จัดอยู่ใน โกฐทั้งเจ็ด (สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ)

 เครื่องยา“พิกัดโกฐ” ประกอบด้วย “พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา “พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) “พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           มีฤทธิ์ปกป้องตับ  ลดความเครียด ขยายหลอดลม แก้แพ้ ต้านการอักเสบ  ปรับระบบภูมิคุ้มกัน  ต้านออกซิเดชั่น  ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา  ป้องกันการเกิดเนื้องอก  ลดระดับไขมันในเลือด ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเลือด ฯลฯ
 
ที่มา
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=26
http://www.flowersofindia.net/catalog/slides/Kutki.html








กะฎุกะตัวยาสมุนไพรแห้งแก้ไข้กฏุโรหินีกฏุกะโรหินีพิกัดโกฐทั้งโอ่วไน้แก้หอบขายรากโกฐก้านพร้าว
สินค้าแนะนำ
บทความ