ดอกจันทน์(รกหุ้มเมล็ด) บำรุงโลหิต บำรุงผิวเนื้อให้เจริญ

฿ไม่ระบุ
รายละเอียดสินค้า
ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด)
 

ชื่อเครื่องยา

ลูกจันทน์

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

หน่วยสาน

ได้จาก

เมล็ดแห้ง (จากผลสุก)

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

จันทน์เทศ (nutmeg)

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ลูกจันทน์ จันทน์บ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Myristica fragrans Houtt.

ชื่อพ้อง

Myristica officinalis L.f.

ชื่อวงศ์

Myristicaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เมล็ดรูปรี  ขนาดยาว 2-4 เซนติเมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร  ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน  มันวาว มีลายริ้วที่เมล็ด ผลที่สุกแล้วเอาส่วนรก(ดอกจันทน์) และเปลือกเมล็ดออก  เปลือกเมล็ดจะแข็งแต่เปราะ ภายในคือส่วนของเนื้อในเมล็ด เมื่อผ่าดูจะเห็นเนื้อเป็นรอยย่นตามยาวของเมล็ด ส่วนเมล็ดเมื่อทำแห้งเรียก “ลูกจันทน์เทศ” มีกลิ่นแรง  หอมเฉพาะ  รสขม  ฝาด  เปรี้ยว เผ็ดร้อน

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
            ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10% w/w (เภสัชตำรับจีน)  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 1% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 3% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 0.5% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 11% w/w  ปริมาณสารสกัดอีเทอร์ ไม่น้อยกว่า 25% w/w  ปริมาณสารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 7% w/w  ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ไม่น้อยกว่า 5% v/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ลูกจันทน์ ใช้แก้ธาตุพิการ  บำรุงกำลัง  แก้ไข้ บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ  แก้จุกเสียด  ขับลม  รักษาอาการอาหารไม่ย่อย  คลื่นไส้อาเจียน  ท้องเสีย แก้บิด แก้กำเดา  แก้ท้องร่วง  แก้ร้อนใน  กระหายน้ำ  แก้เสมหะโลหิต แก้ปวดมดลูก  และบำรุงโลหิต  เปลือกเมล็ด รสฝาดมันหอม สมานบาดแผลภายใน แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง
           ประเทศอินโดนีเซีย: ใช้ลูกจันทน์เทศรักษาอาการท้องเสีย  และนอนไม่หลับ
           ตำรายาไทย: ปรากฏการใช้จันทน์เทศใน “พิกัดตรีพิษจักร” คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสซึมซาบไวดังกงจักร มี 3 อย่างคือ ผลจันทน์เทศ ผลผักชีล้อม และกานพลู สรรพคุณแก้ลม แก้พิษเลือด แก้ธาตุพิการ บำรุงโลหิต “พิกัดตรีคันธวาต” คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอมแก้ลม 3 อย่าง มี ผลจันทน์เทศ ผลเร่วใหญ่ และกานพลู สรรพคุณแก้ธาตุพิการ แก้ไข้อันเกิดแต่ดี แก้จุกเสียด
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้ลูกจันทน์ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 4 ตำรับ คือ
                1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของลูกจันทน์ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของลูกจันทน์ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของลูกจันทน์ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1.ขับลม
              ใช้เมล็ด(ลูกจันทน์) 1-2  เมล็ด บดเป็นผงละเอียด ชงน้ำดื่มครั้งเดียว รับประทานวันละ 2 ครั้ง 2-3 วัน ติดต่อกัน แก้อาการท้องอืด เฟ้อ ขับลม
           2.แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ
              ใช้ลูกจันทน์ 1-2 เมล็ด ทุบเอาเปลือกออก ย่างไฟพอเหลือง ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 เอาน้ำดื่ม

องค์ประกอบทางเคมี:
           น้ำมันหอมระเหย :  5-15%  ประกอบด้วย  d-camphene 60-80% , myristicin 4-8% , elemicin 2% , alpha และ beta-pinenes 35%,  safrole (1-2.1%) น้ำมันระเหยยาก : 20-40%  ประกอบด้วย  myristic  acid 60%
           สารกลุ่ม  lignans  และ  neolignans

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ลดไขมันในเลือด  และป้องกันเส้นเลือดอุดตัน ขับลม  ลดการบีบเกร็งลำไส้  ต้านการอาเจียน  กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย  ลูกจันทน์มีฤทธิ์ทำให้เกิดประสาทหลอนได้  ต้านปวดและอักเสบ    ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสีย  ต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องตับ กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ลดน้ำตาลในเลือด   ยับยั้งการสร้างสาร  prostaglandin

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล
           
การศึกษาทางพิษวิทยา:
            1. การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเมล็ดด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 12,500 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ
           2. การบริโภค myristicin ในอัตรา 4-5 กรัม ทำให้คนแสดงอาการผิดปกติด้านระบบประสาท  เกิดอารมณ์เคลิ้มฝัน ประสามหลอน การบริโภคสูงถึง 8 กรัม ทำให้เสียชีวิตได้ การกินลูกจันทน์ในขนาดที่มากกว่า 5 กรัม ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง หัวใจเต้นผิดปกติ ปากแห้ง ชัก อาจถึงตายได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท  ฉะนั้นการใช้เครื่องยานี้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง
           3. น้ำมันจันทน์เทศจากลูกจันทน์ มีสาร safrole เป็นองค์ประกอบซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และเป็นพิษต่อตับได้ จึงควรระวังในการใช้ไม่ให้มีสาร safrole เกิน 1% เพราะทำให้เกิดพิษได้
           4. หลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื่องจาก myristicin สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ glutathione-S-transferase ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดเนื้องอก

 

 

 
สนใจสั่งซื้อ และสอบถามข้อมูลได้ที่
คุณพิม 087-035-7737  //  091-516-1399
 
 
 


ดอกจันทน์(รกหุ้มเมล็ด)บำรุงผิวเนื้อให้เจริญบำรุงโลหิต
สินค้าแนะนำ
บทความ