ขี้เหล็กเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia timoriensis DC.
ชื่อวงศ์:Leguminosae- Caesalpinoideae
ชื่ออื่น : ขี้เหล็กป่า ขี้เหล็กแดง มะเกลือเลือด ช้าขี้เหล็ก ขี้เหล็กปั้นชั่ง กะแลงแล็น (มลายู)
ลักษณะ :
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 10 ม. กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนสีเหลืองทอง
ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หูใบรูปติ่งหู มีขนสั้นนุ่ม ปลายใบแหลมสั้นๆ หรือเป็นติ่ง โคนใบกลม แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้านของแผ่นใบ ส่วนท้องใบเป็นสีแดง
ดอก เป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ มีใบประดับรูปไข่ ปลายแหลม ร่วงง่าย กลีบดอกสีเหลือง แผ่นกลีบรูปไข่กลับ
ฝักรูปแถบ แบน เกลี้ยง แห้งแล้วแตก ยาว 8-16 ซม. เมล็ดมี 10-30 เมล็ด รูปรี แบน เป็นมันวาว ยาวประมาณ 7 มม.
สรรพคุณ :
เปลือกต้น รสขม แก้โรคหิด
แก่น รสขมจัด ขับฟอกโลหิตระดูสตรี บำรุงโลหิตระดู ขับปัสสาวะ แก้กษัย ไตพิการ แก้กล่อนลงฝัก (ทำให้อัณฑะข้างหนึ่งบวม) แก้ปวดบั้นเอว แก้เส้นปัตคาดบริเวณท้องน้อยและหน้าขาตึง
อ้างอิง
http://goo.gl/omFU4q
http://www.en.mahidol.ac.th/conservation/plant_table_full.php?id=116
http://www.qsbg.org/database/plantdb/mdp/mdpdetails.asp?id=357
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: น. 138, กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
ขี้เหล็กแดงขี้เหล็กเลือดขี้เหล็กป่าสมุนไพรบำรุงโลหิต