ขายหัวรากโหรา, (เต่าเกียด),ซวยโบ, เต่าเขียด, เต่าเกียด สมุนไพรขับเสมหะ, แก้หอบหืด, แก้โรคผิวหนัง ,เรื้อน, มะเร็ง

฿ไม่ระบุ
รายละเอียดสินค้า

โหรา (เต่าเกียด)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena aromatica (Roxb. & Sims) Schott
ชื่อวงศ์ : Araceae
ชื่ออื่น : ซวยโบ เต่าเขียด เต่าเกียด

ลักษณะ: 
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน มีกลิ่นหอม ต้นขึ้นเป็นกอคล้ายพวกบอน
ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหัวใจ  ขนาดกว้าง 20-25 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า  ขอบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบ ยาว 40 เซนติเมตร สีเขียวหรือเขียวแกมม่วงคล้ำ โคนก้านเป็นกาบ
ดอกช่อแบบเชิงลด มีกาบ ช่อรูปทรงกระบอก ยาว 10 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 5-7 เซนติเมตร ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้มีจำนวนมาก และอยู่ตอนบน ดอกเพศเมียมีจำนวนน้อยกว่า และอยู่ตอนล่าง มีกาบสีเขียวยาวเท่ากับช่อดอก
ผลมีเนื้อ มีขนาดเล็ก

นิเวศวิทยา  แหล่งกำเนิดจากอินเดีย พม่า อินโดจีน จีนตอนใต้ ผ่านไทย และมาเลเซีย ขึ้นตามป่าชื้น เป็นไม้พื้นล่าง ขึ้นในพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วๆไป และปลูกเป็นสมุนไพร

สรรพคุณสมุนไพร
หัว ราก   รสเมาเบื่อ ขับเสมหะ แก้หอบหืด แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็ง คุดทะราด(2)
ต้น รสขม เผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน รับประทานแก้โรคตับ ปอดพิการ
หัว (เหง้า) รสเย็น กลิ่นหอมฉุน ชักตับ ชักดาก แก้ตับปอดพิการ แก้ตับทรุด เนื่องจากชอกช้ำ (1)
หัว เมื่อนำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับใบยาสูบ และยานัตถุ์ได้ ซึ่งหัวนี้จะมีกลิ่นหอม และเมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันหอมสีเหลือง จะมีฤทธิ์กระตุ้น (stimulant) นอกจากนี้หัวยังใช้ผสมกับเครื่องเทศใส่แกงทำให้มีรสหอมอีกด้วยทั้งต้น นำมาตำแล้วใช้ทาแก้โรคผิวหนัง

พิกัด 
โหราทั้ง 5 คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่ชื่อโหรา 5 อย่าง ได้แก่โหราอมฤต โหรามิคสิงคลี โหราบอน โหราเดือยไก่ โหราเท้าสุนัขสรรพคุณ แก้พิษสัตว์ ทำให้อาเจียน ขับลม ขับระดู ขับโลหิตช้ำ

โหราพิเศษ 6 คือ จำกัดจำนวนตัวยาชื่อโหราพิเศษ มี 6 อย่าง คือโหราผักกูด โหราข้าวเหนียว โหราเขาเนื้อ โหราเขากระบือ โหราใบกลม โหรามหุรา สรรพคุณ แก้โรคพยาธิผิวหนัง กลาก เกลื้อน เรื้อน มะเร็ง คุดทะราด พยาธิบาดแผล

โหราพิเศษ 8 คือ จำกัดจำนวนตัวยาชื่อโหราพิเศษ มี 8 อย่าง คือ โหราผักกูด โหราข้าวเหนียว โหราเขาเนื้อ โหราเขากระบือ โหราใบกลม โหรามหุรา โหรามโหรา โหรามังโหรา สรรพคุณ แก้โรคพยาธิผิวหนัง กลาก เกลื้อน เรื้อน มะเร็ง คุดทะราด พยาธิบาดแผล แก้บาดทะยัก แก้พิษสัตว์กัดต่อย

อ้างอิง
http://goo.gl/zlC8uI
http://archive.wunjun.com/pieamsuk/8/82.html
(1) วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: น. 220, กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
(2)ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม , กองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข

ภาพจาก

http://assamplants.com/All%20Species/Homalomena.htm
http://www.flickr.com/photos/jairampur/2874858146/in/photostream/
http://manipursfac.com/organically-grown-medicinal-aromatic-plants/



 
 
โพสต์เมื่อ 1st August 2013 โดย


เต่าเขียดสมุนไพรขับเสมหะมะเร็งเต่าเกียดซวยโบแก้โรคผิวหนังขายหัวรากโหรา(เต่าเกียด)แก้หอบหืดเรื้อน
สินค้าแนะนำ
บทความ