แหร็ดหนู, เร็ดหนู(สงขลา), กาเล็ดกาเว๊า, กาเร็ด , หัวเร็ดหนูแห้งเป็นสมุนไพรที่เหมาะกับสตรี ใช้ขับระดู และเป็นสมุนไพรบำรุงกำหนัดของสตรี ช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลมากขึ้น

฿ไม่ระบุ
รายละเอียดสินค้า

เร็ดหนู

ชื่อวิทยาศสตร์ :Stachyphrynium jagorianum 
                          (K.Koch) K.Schum. 
ชื่อวงศ์ : Marantaceae
ชื่่ออื่น : แหร็ดหนู, เร็ดหนู(สงขลา),  กาเล็ดกาเว๊า, กาเร็ด
 
ลักษณะ
เป็นไม้ลงหัวขนาดเล็กสูงราว 1 ฟุต  ต้นและใบคล้ายต้นสาคู  แต่เล็กกว่ามาก

ใบรูปใบพายปลายและโคนแหลม ก้านเป็นกาบแข็งตั้งยาว   ตามแนวเส้นใบมีแต้มสีม่วงดำ   สลับกันข้างละ  4-5  แต้ม   ขึ้นตามป่าดงดิบชื้นเขา  มีมากทางภาคใต้


ดอก ช่อดอกสั้น ออกตอนกลางของลำต้น ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. และยาวขึ้นเรื่อย ๆ ดอกเล็ก สีขาว กลีบดอกชั้นนอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นกลีบแคบ ๆ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นกลาง 2 กลีบ

ผลค่อนข้างกลม เมื่อแห้งจะแตก เมล็ดเล็ก สีน้ำตาล รูปขอบขนาน ผิวเรียบ ด้านหนึ่งโค้งคล้ายหลังเต่า อีกด้านหนึ่งแบนราบ มีเยื่อนุ่มสีแดง รากหรือหัว หรือเหง้าคล้ายข่า ขยายพันธุ์ ใช้วิธีแยกหน่อ

เป็นพืชสกุลคล้า ที่คนไทยถิ่นใต้(สงขลา)เรียกว่า เร็ด หรือ แหร็ดนี้ ในภาคใต้มี 2 ชนิดคือ เร็ดหนู หรือ กาเร็ดกาเหว่า ที่กล่าวมาข้างต้น อีกชนิดก็คือ เร็ดใหญ่ ซึ่งใบมีขนาดใหญ่คนไทยถิ่นใต้สมัยก่อน ใช้ใบเร็ดชนิดนี้เป็นวัสดุห่อของกินของ ใช้ที่ซื้อขายกันในตลาดนัด


สรรพคุณ
หัวและราก   รสร้อนมัน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงความกำหนัด

หัว (เหง้า)     ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร เป็นสมุนไพรที่เหมาะกับสตรี ใช้ขับระดู และเป็นสมุนไพรบำรุงกำหนัดของสตรี ช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลมากขึ้น สร้างความกระชุ่มกระชวย โดยให้นำรากกับหัว มาย่างไฟให้เหลืองแล้วต้มดื่มเป็นชา

อ้างอิง
http://www.greenclinic.in.th/healherb/result_herb.php?herb_id=234&words=
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: น. 392, กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

โพสต์เมื่อ 7th May 2013 โดย
ป้ายกำกับ: เร็ดหนู


ช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลมากขึ้นแหร็ดหนูกาเร็ดและเป็นสมุนไพรบำรุงกำหนัดของสตรีหัวเร็ดหนูแห้งเป็นสมุนไพรที่เหมาะกับสตรีใช้ขับระดูกาเล็ดกาเว๊าเร็ดหนู(สงขลา)
สินค้าแนะนำ
บทความ