ขายรากโด่ไม่รู้ล้มแห้ง, ขายส่งผงรากโด่ไม่รู้ล้ม,โด่งไม่รู้ล้ม สรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด มีอาการไอเรื้อรัง |
฿ไม่ระบุ |
โด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณและประโยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม ภาษาอังกฤษ Prickly-leaved elephant’s foot ชื่อวิทยาศาสตร์ Elephantopus Scaber L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าโปร่งที่มีดินค่อนข้างเป็นทราย ในป่าเต็งรัง ป่าดิบ และในป่าสนเขาทั่วทุกภาคของประเทศไทย และประเทศในเขตร้อนทั่วโลก
สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ), ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม (ลั้วะ), จ่อเก๋ (ม้ง) เป็นต้น
ลักษณะของโด่ไม่รู้ล้ม
- ต้นโด่ไม่รู้ล้ม เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสั้นและกลม ชี้ตรง มีความสูงราว 10-30 เซนติเมตรอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ตามผิวลำต้นและใบจะมีขนละเอียดสีขาว สาก ห่าง ทอดขนานกับผิวใบ พืชชนิดนี้เมื่อถูกเหยียบหรือโดนทับก็จะดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้เหมือนปกติ (สมชื่อเลย) ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
- ใบโด่ไม่รู้ล้ม มีใบเป็นใบเดี่ยวอยู่บริเวณเหนือเหง้า ติดกันเป็นวงกลมเรียงสลับชิดกันอยู่เป็นกระจุกคล้ายกุหลาบซ้อนที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหัวกลับ แผ่นใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักหรือเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยห่างๆ มีเส้นแขนงของใบประมาณ 12-15 คู่ ส่วนของใบที่ค่อนไปทางปลายจะผายกว้าง แล้วสอบเป็นแหลมทู่ๆ ส่วนโคนใบจะสอบแคบจนถึงก้านใบ มีเนื้อใบหนาสาก ผิวใบจะมีขนสากเล็กๆ ขนตรงห่างมีสีขาว และมีขนต่อมห่างอยู่ทั้งสองด้าน โดยท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ แผ่นใบมักแผ่ราบไปกับพื้นดิน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านใบ
- ดอกโด่ไม่รู้ล้ม ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากลำต้น ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปขอบขนาน มีดอกย่อยขนาดเล็ก 4 ดอก ยาวประมาณ 9-10 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดอกเป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร เกลี้ยง ส่วนปลายกลีบดอกยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ไม่มีขน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลือง มีอับเรณูยาวประมาณ 2.2-2.3 เซนติเมตร ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม ส่วนก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5-1.7 เซนติเมตร และเกสรตัวเมียมีก้านเกสรยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ยอดเกสรยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร มีขนอยู่ปลายยอดและสิ้นสุดที่รอยแยก แต่ละช่อย่อยจะอยู๋รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก ที่โคนกระจุกดอกจะมีใบประดับแข็งเป็นรูปสามเหลี่ยมแนบอยู่ด้วย 3 ใบ ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ขอบใบเรียบปลายเรียวแหลม ที่ผิวใบทั้งสองด้านมีขนตรงสีขาว ออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกมีความยาวได้ถึง 8 เซนติเมตรและมีขนสาดๆ อยู่ทั่วไป ส่วนฐานรองดอกจะแบนและเกลี้ยง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร วงใบประดับเป็นรูปขอบขนาน มี 2 ชั้น สูงราว 7-10 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใบประดับคล้ายรูปหอก ผิวด้านนอกมีขนตรง ส่วนขอบใบมีขนครุย ชั้นนอกเป็นรูปใบหอกยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 0.5-1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ส่วนชั้นที่ 2 เป็นรูปขอบขนานกว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร ปลายแหลม สีขาวเป็นเส้นตรงแข็งมี 5 เส้น เรียง 1 ชั้ย ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร
- ผลโด่ไม่รู้ล้ม ผลเป็นผลแห้งและไม่แตก ลักษณะของผลเล็กและเรียว เป็นรูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกผลมีขนหนาแน่น ยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 0.4-0.5 มิลลิเมตร และผลไม่มีสัน
สรรพคุณโด่ไม่รู้ล้ม
- ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ด้วยการใช้รากต้มเป็นน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้าดื่มผสมเข้ากับสมุนไพรกำลังเสือโคร่งและม้ากระทืบโรง หรือจะใช้ใบต้มกับน้ำดื่มก็ได้ และนอกจากนี้ยังใช้ทั้งต้นของโด่ไม่รู้ล้ม นำมาตากแห้งแล้วหั่นเป็นฝอยใช้ผสมเข้ายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ คือ ต้นนางพญาเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง ลำต้นฮ่อสะพายควาย จะค่าน ตานเหลือง มะตันขอ เปลือกลำ หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และข้าวหลามดง นำมาต้มเป็นน้ำดื่มเป็นยาบำรุงก็ได้เหมือนกัน (ราก,ใบ,ทั้งต้น)
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ทั้งต้น)
- ลำต้นและใบ ใช้เป็นยาบำรุงเลือด เหมาะสำหรับสตรีที่มีประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ (ต้นและใบ)
- ช่วยทำให้อยากอาหาร (ต้นและใบ)
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ใบ)
- ช่วยแก้กษัย (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีรสกร่อนจืดและขื่นเล็กน้อย ใช้รับประทานช่วยทำให้เกิดกษัยแต่มีกำลัง (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก)
- ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำรับประทาน ช่วยแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรียได้ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้รากโด่ไม่รู้ล้มนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้ราก ลำต้น ใบและผล ต้มเป็นน้ำดื่มก็ได้เช่นกัน (ราก,ลำต้น,ใบ,ผล,ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้ต้นหรือรากต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไอ (ราก,ต้น,ใบ,ทั้งต้น)
- รากโด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด มีอาการไอเรื้อรัง (ราก)
- รากใช้ต้มดื่มแก้อาเจียนได้ (ราก)
- ทั้งต้น ใช้ต้มเป็นน้ำดื่มช่วยแก้อาการข้าวตืดคอ หรือกลืนอาหารฝืดคอได้ (ทั้งต้น)
- สมุนไพรต้นโด่ไม่รู้ล้ม ช่วยแก้วัณโรค (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ไม่ระบุสวนที่ใช้)
- สรรพคุณโด่ไม่รู้ล้ม ช่วยแก้อาการตาแดง (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้ต้นแห้งประมาณ 6 กรัม นำมาแช่ในน้ำร้อนขนาด 300 cc. (เท่าขวดแม่โขง) ประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วรินเอาน้ำมาดื่มจะช่วยบรรเทาอาการได้ หรือจะใช้ต้นแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วปั้นเป็นเม็ดไว้รับประทานก็ได้เช่นกัน (ต้นแห้ง,ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ด้วยการใช้ต้นแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มดื่มวันละครั้ง (ต้นแห้ง,ทั้งต้น)
- รากใช้ต้มกับน้ำนำมาอมช่วยแก้อาการปวดฟันได้ หรือใช้รากนำมาตำผสมกับกับพริกไทย (ราก)
- ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหล เลือดกำเดาไหลง่าย ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-60 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาต้มกับเนื้อหมูแดงพอประมาณแล้วใช้รับประทานติดต่อกัน 3-4 วัน (ต้นสด,ทั้งต้น)
- รากและใบใช้ต้มเป็นยาดื่มช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก (รากและใบ)
- โด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องเสีย (ราก,ทั้งต้น)
- รากและใบสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง (รากและใบ)
- สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม ช่วยแก้บิด (ราก,รากและใบ,ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (รากและใบ,ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ท้องมาน หรือภาวะที่มีสารน้ำในช่องท้องมากเกินปกติ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับดื่มเช้าเย็น หรือใช้ตุ๋นกับเนื้อแล้วนำมารับประทานก็ได้ (ต้นสด)
- ช่วยขับไส้เดือน พยาธิตัวกลม (ราก,ใบ,ทั้งต้น)
- ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ราก,ทั้งต้น)
- รากมีสรรพคุณเป็นยาบีบมดลูก (ราก)
- รากใช้เป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ (ราก,ใบ)
- รากและใบใช้ต้มอาบหลังคลอดของสตรี (รากและใบ)
- ช่วยแก้นิ่ว ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 90 กรัม ต้มรวมเนื้อหมู 120 กรัม พร้อมใส่เกลือเล็กน้อย ต้มแล้วเคี่ยวกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม เอากากออก แบ่งรับประทานเป็น 4 ครั้ง หรือจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มแก้อาการก็ได้เช่นกัน (ราก,ต้น,ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีรสกร่อยและขื่น ใช้เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ (ราก,ใบ,ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการขัดเบา (อาการเริ่มต้นของทางเดินปัสสาวะอักเสบ) ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 15-30 กรัม ใช้ต้มกับน้ำดื่ม (ต้นสด)
- ช่วยรักษาตับและไตอักเสบ (ไม่ระบุสวนที่ใช้)
- ช่วยแก้กามโรค รักษาโรคบุรุษ (ราก,ใบ,ทั้งต้น)
- รากและใบ ช่วยแก้กามโรคในสตรี โดยใช้สดหรือแห้งประมาณ 2 กำมือนำมาต้มเป็นน้ำดื่มแก้อาการ (รากและใบ)
- ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ด้วยการใช้รากต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ใบ,ทั้งต้น)
- ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกาย (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30 กรัม ใช้ต้มเป็นน้ำดื่ม (ต้นสด)
- ช่วยแก้ดีซ่าน ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 120-240 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูแล้วใช้รับประทานติดต่อกัน 4-5 วัน (ต้นสด,ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการอักเสบต่างๆ เช่น หลอดลมอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ลำไส้อักเสบ ฯลฯ (ราก,ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาฝีบวม ฝีมีหนอง ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเกลือเล็กน้อย และละลายน้ำส้มสายชูพอข้นๆ แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็นฝี (ราก,ต้นสด,ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาฝีฝักบัว ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 25 กรัม ใส่เหล้า 1 ขวด และน้ำ 1 ขวด แล้วนำมาต้มดื่ม และใช้ต้นสดต้มกับน้ำเอาน้ำมาชะล้างบริเวณหัวฝีที่แตก (ต้นสด)
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แผลงูกัด (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ นำมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการ (ใบสด)
- ช่วยรักษาบาดแผล ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ นำมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาทาแผล (ใบ)
- ช่วยแก้อาการเหน็บชา ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-60 กรัม และเต้าหูประมาณ 60-120 กรัม แล้วเติมน้ำพอประมาณ ใช้ตุ๋นรับประทาน (ต้นสด,ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดบวม (ไม่ระบุสวนที่ใช้)
- ช่วยคลายเส้น ด้วยการใช้รากนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม (ราก)
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการปวดหลังปวดเอวได้ หรือจะใช้รากต้มร่วมกับลุบลิบก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ใบต้มกับน้ำดื่มร่วมกับเหงือกปลาหมอก็ได้เช่นกัน (ราก,ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายกาย ด้วยการใช้รากต้มเป็นน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้าดื่มผสมเข้ากับสมุนไพรกำลังเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรงก็ได้เช่นกัน (ราก)
- รากใช้เป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดงสำหรับผู้ป่วยเอดส์ โดยประกอบด้วย โด่ไม่รู้ล้ม ม้ากระทืบโรง หงอนไก่อู และหงอนไก่แจ้ นำมาต้มเป็นน้ำดื่ม แต่ถ้าเป็นคนปกติดื่มแล้วจะช่วยบำรุงกำลัง (ราก)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม : โด่ไม่รู้ล้มมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ช่วยลดไข้ ลดอาการอักเสบ ช่วยต้านความเป็นต่อตับ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และช่วยกระตุ้นมดลูก
ข้อห้าม ! : ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ชอบดื่มของร้อน ไม่กระหายน้ำ มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง และปัสสาวะปริมาณมาก และมีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา
ประโยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับประจำบ้าน เพื่อความสวยงาม
- มีความเชื่อว่าการปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้มไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันเสนียดจัญไรได้
- สามารถนำไปแปรรูปเป็นยาสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ เช่น โด่ไม่รู้ล้มผงสำเร็จรูป ยาดองเหล้าโด่ไม่รู้ล้ม ยาโด่ไม่รู้ล้ม โด่ไม่รู้ล้มแคปซูล เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทลัยอุบลราชธานี, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สุภาวดี ภูมิมาลี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1 สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ 104
ภาพประกอบ : เว็บไซต์ phargarden.com (by Sudarat Homhual), เว็บไซต์ไทยเกษตรศาสตร์, เว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
ขายส่งโด่งไม่รู้ล้มสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อนมีอาการไอเรื้อรังขายรากโด่ไม่รู้ล้มแห้งขายส่งผงรากโด่ไม่รู้ล้มโด่งไม่รู้ล้มแก้ไข้หวัด