เสริมหน้าอกBB clinic หมอ ปวีณา แพทย์เชี่ยวชาญรายละเอียดติดต่อคุณแมว0653545163 |
฿ไม่ระบุ |
ชื่อผู้ประกาศ : กานต์พิชชา เบอร์โทรศัพท์ : 0653545163 โทรศัพท์มือถือ : 0653545163 ที่อยู่ : BB CLINIC การติดต่ออื่นๆ : 0653545163 |
สาวๆ ที่อยากเสริมเต้าให้อวบอึ๋มด้วยมือแพทย์ ควรต้องพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีเสริม เพราะสิ่งสำคัญในการเสริมเต้านมก็คือการเลือกวัสดุที่ใช้เสริมเต้านม ที่นิยมกันมีอยู่ 2 ชนิด คือ ถุงใส่น้ำเกลือและถุงใส่ซิลิโคนเจล ซึ่งแยกออกเป็นผิวเรียบและผิวขรุขระ และมี 2 รูปทรงคือ รูปทรงกลมและรูปทรงหยดน้ำ
ผิวเรียบและผิวขรุขระต่างกันอย่างไร
ซิลิโคนแบบถุงเรียบมีโอกาสเกิดพังผืดมากกว่าแบบขรุขระเพราะถ้าเกิดพังผืดจะทำให้เต้านมแข็ง รัดเต้านมจนกลม ดูไม่เป็นธรรมชาติ เคลื่อนที่ไม่ค่อยได้ หรือหากมีพังผืดมากๆ อาจทำให้เต้านมบิดเบี้ยว อาจเจ็บเต้านมจนถึงขั้นต้องเลาะเอาพังผืดออกแล้วทำใหม่อีกรอบหนึ่งซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะหาย
ถุงแบบน้ำเกลือ มีรูสำหรับเติมน้ำได้ เวลาผ่าตัดจะมีแผลเล็กกว่ามาก ทำง่ายกว่าเพราะสามารถใส่ผ่านรูเล็กๆ เข้าไปได้ แผลอยู่ที่ใดก็ได้ เช่น รักแร้ ปานนม ใต้ราวนม ศัลยแพทย์พลาสติกจะทำการใส่ถุงเข้าไปแล้วเติมน้ำเข้าไปตามขนาดที่ออกแบบเอาไว้ ข้อดีคือ ผ่าแผลเล็กก็ใส่เข้าไปได้ ข้อเสียคือ รูรั่วซึมได้ แต่ก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเพราะแม้จะรั่ว แตกหรือซึมก็ไม่มีปัญหาเพราะร่างกายดูดซึมได้หมด มีความปลอดภัยกว่าซิลิโคน
ถุงซิลิโคนเจล ถ้าถุงซิลิโคนเจลแตกแล้วยังมีซิลิโคนตกค้างอยู่จะไม่ปลอดภัย แต่ถ้าเป็นซิลิโคนที่มีมาตรฐานดีมาก มันจะเกาะตัวมันเองเป็นอย่างดีและจะไม่กระจายไปที่ส่วนอื่น ฉะนั้นเมื่อมันเกาะตัวกันดีก็สามารถเอาออกได้ง่าย แต่ถ้าเป็นถุงซิลิโคนที่มีมาตรฐานต่ำ เจลจะกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ถุงซิลิโคนรูปหยดน้ำ ใส่แล้วคล้ายเต้านมในท่านั่งและท่ายืนมากกว่าท่าอื่นๆ ไม่เปลี่ยนรูปร่างในท่านอนหรือท่านอนตะแคง วัตถุประสงค์ของรูปทรงหยดน้ำคือ ให้ทรงสวยงามเวลานั่งหรือยืน แต่มีข้อเสียในท่าอื่นๆ เนื่องจากดูไม่เป็นธรรมชาติ ดูรู้ว่าเป็นเต้าเทียม และในระยะยาวถ้ามีพังผืดมารัดก็จะทำให้เต้านมผิดรูปทรงได้ง่ายและเห็นชัดกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรูปทรงกลม
ถุงซิลิโคนรูปทรงกลม ในท่านั่งหรือยืน ถุงนมรูปทรงกลมจะตกลงมาคล้ายๆ กับหยดน้ำ เพียงแต่ข้างล่างยื่นไม่มาก จะเปลี่ยนไปตามรูปร่างในท่านอนและท่าตะแคง ข้อดีคือ ทรงกลมจะดูเป็นธรรมชาติมากกว่าในทุกอิริยาบถ
รอยแผลผ่าตัด การจะซ่อนรอยแผลผ่าตัดไว้ที่ส่วนใดดีก็มีข้อพิจารณา คือถ้าชอบใส่ชุดว่ายน้ำหรือเสื้อแขนกุดก็ไม่ควรผ่าตัดทางรักแร้ อาจต้องผ่าที่ปานนมหรือใต้ราวนม แต่ถ้าใส่เสื้อปิดบังแขนตลอด จะมองไม่เห็นแผลหรือถ้าเปิดหน้าอกแล้วไม่อยากให้คนเห็นว่ามีแผลบริเวณหน้าอกก็ไม่ควรผ่าแผลที่ปานนมหรือใต้ราวนม
วิธีการผ่าตัด
ตำแหน่งที่ศัลยแพทย์ตกแต่งจะทำเส้นแนวผ่าตัดมีอยู่ 3 ที่ด้วยกัน คือรอบปานนมบริเวณที่
เป็นสีชมพูเข้ม บริเวณรักแร้ หรือใต้ราวนม เมื่อทำแนวเส้นผ่าตัดแล้วศัลยแพทย์ตกแต่งจะเปิดช่องภายในหน้าอกเพื่อวางถุงซิลิโคน ช่องนี้จะอยู่เหนือหรือใต้ชั้นกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์กับผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ส่วนความยาวของแนวเส้นผ่าตัดที่จะถูกทำขึ้นมานั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของถุงซิลิโคนที่จะถูกใส่เข้าไป ในช่วง 2 วันแรกหลังผ่าตัด คนไข้จะต้องพันผ้าพันแผลไว้รอบหน้าอกเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของทรวงอกและบรรเทาอาการเจ็บปวด
ระยะเวลาในการผ่าตัด
1-2 ชั่วโมง
ภาวะแทรกซ้อน
การเกิดพังผืดรอบๆ ถุงซิลิโคนเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้หน้าอก
แข็ง ไม่นุ่มเป็นธรรมชาติ การแก้ไขทำได้โดยการผ่าตัดเอาพังผืดออกหรือใส่ถุงซิลิโคนใหม่ ในคนไข้น้อยรายอาจจะพบอาการเลือดออก หัวนมชาไร้ความรู้สึกหรือไวต่อความรู้สึก ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆหมดไปหลังผ่าตัด หากพบว่ามีการติดเชื้อ (พบได้น้อย) ศัลยแพทย์ตกแต่งจะรีบนำถุงซิลิโคนออกจากหน้าอกคนไข้ทันที และคนไข้จะต้องรออีกประมาณ 2 ถึง 3 เดือนจึงจะเข้ารับการผ่าตัดใหม่ได้
การรักษาพยาบาล
ศัลยแพทย์ตกแต่งจะพันผ้าพันแผลไว้รอบหน้าอกคนไข้ประมาณ 2 วันหลังผ่าตัด หลังจากนั้นคนไข้สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ คนไข้จะต้องเริ่มคลึงหน้าอกเบาๆ เพื่อลดการเกิดพังผืดรอบๆ ถุงซิลิโคนและเพื่อให้หน้าอกดูเป็นธรรมชาติ(ไม่ควรนวดแรงเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง) โดยคลึงครั้งละ 15 - 20 นาที วันละ 3 ถึง 4 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัดในช่วงเดือนแรกหลังผ่าตัด จากนั้นจึงลดลงเหลือ 1 ถึง 2 ครั้งต่อวัน ที่สำคัญคือ ต้องตรวจเต้านม (Mammogram) อย่างสม่ำเสมอภายหลังการผ่าตัดโดยจะต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนการตรวจว่าได้ผ่านการเสริมหน้าอกมา
ระยะเวลาพักฟื้น
ใช้เวลาพักฟื้นโดยประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์จึงกลับไปทำงานได้ตามปกติ
ระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด
ต้องนอนที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อดูผลการผ่าตัด
การใช้ยาระงับความเจ็บปวดก่อนผ่าตัด
วางยาสลบ
การดูแลบาดแผล
ภายหลังจากถอดผ้าพันแผลที่หน้าอกแล้ว จะต้องสวมยกทรงเฉพาะแบบเพื่อช่วยประคองหน้าอกให้ได้รูปทรง จากนั้นสามารถเริ่มทำกิจวัตรประจำวันหรือออกกำลังเบาๆได้หลังจากเดือนแรกหลังผ่าตัด หรือเมื่อเริ่มหมดอาการเจ็บปวดไปแล้ว
การเสริมเต้านมมีโอกาสที่ทำให้เกิดนมแข็งเนื่องจากมีพังผืดมารัด ในความเป็นจริงแล้ว การนวดนมก็คือ การขยับถุงให้มันไปตามช่องที่สร้างไว้เพื่อที่จะให้ช่องเล็กลง เป็นวิธีป้องกันไม่ให้นมแข็ง แต่ไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
? โปรดแจ้งอาการแพ้ยา ยาหรืออาหารเสริมที่ใช้ในปัจจุบันก่อนเข้ารับการผ่าตัด
? หากมีโรคประจำตัว โปรดแจ้งศัลยแพทย์ตกแต่งทราบล่วงหน้า
? งดแอสไพริน (Aspirin) ไอบิวโพรเฟน (Ibuprofen) ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และวิตามินอี ล่วงหน้า 2 สัปดาห์
ชื่อ: กานต์พิชชา ตุลยสุข
โทร: 0653545163
usabbcliเสริมหน้าอกusa