เหรียญตาหลวงสุข วัดควนเถียะ เป็นอีกหนึ่งเหรียญของเกจิอาจารย์เมืองนคร ที่พระเครื่องและวัตถุมงคลของพ่อท่าน มีประสบการณ์มากมายหลายครั้งหลายคลา จนทำให้คนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง หากันอย่างชนิดขาขวิดไปตามๆกัน โดยเฉพาะประสบการณ์ล่าสุข ตำรวจชะอวดโดนยิงแบบชนิดเต็มๆเลยครับ ห้อยเหรียญเดียว เหรียญตาหลวงสุข วัดควนเถียะ บล็อกดาวกระจาย เลยทำให้เหรียญของท่านจากหลักพันสู้หลักหมื่นโดยไม่ได้โฆษณาแบบไร้ข้อกังขา เหรียญสวยๆเดิมๆแบบรมดำสนิด ว่ากันที่ สองสามหมื่นยังหาคนปล่อยยากแล้ว
ท่านตาหลวงสุข เดิมชื่อ 'นายสุข หนูทอง' เกิดเมื่อ 13 มิถุนายน 2440 ตรงกับ วันอาทิตย์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ณ บ้านควนใส่ ตำบลท่าเสม็ด (ปัจจุบันเป็นขอนหาด) อำเภอชะอวด โยมบิดา นายหนู มารดา นางนุ้ย มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ตาหลวงเป็นคนสุดท้อง เมืออายุ 12 ปี บิดานำไปฝาก กับ พ่อท่านกลั่น เจ้าอาลวาสวัดท่าเสม็ด จนถึงปี พศ 2459 อายุได้ 19 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณร ฌ พัทสีมาวัดท่าเสม็ด โดยมีพระครูชลาการสุมล เจ้าคณะร่อน เป็นพระอุปัชา เมือบวชแล้ว พระครูชลาการสุมล ได้นำเณรสุขกลับไปวัดควนเกยด้วย หลังจากนั้น ท่านก็นำไปฝากที่วัดสวนหลวง จนสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้น ในปี 2460 อายุครบ 20 ปี ท่านก็นำกลับมาอุปสมบทที่วัดควนเกย เมื่อวันที่ 28 มืถุนายน 2460 โดยมีพระครูชลาการสุมล เป็นอุปัชา พระอาจารย์ชู วัดสำนักขัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลังจากบวชแล้วก็กลับวัดสวนหลวงเพื่อศึกษาต่อจนจบนักธรรมโท ปี 2461 หลังจากออกพรรษาแล้ว ตาหลวงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดน้ำรอบ ลานสกา เพื่อหามุมสงบปฏิบัติธรรมวิปัสนาสมาธิ ปี 2462 ตาหลวงออกเดินทางธุดงค์ไปยังสถานที่ตางๆ ของภาคใต้ ท้่ง 14 จ้งหวัด จนถึงปี. 2477 ร่วมเวลายาวนานถึง 15 ปี และยังได้จำพรรษากับอาจารย์แดง พิชัยยุทธ. เป็นเวลา 1 พรรษาด้วย ปี 2478- 2479 ตาหลวงได้เดินทางกลับบ้าน มาจำพรรษาที่วัดโคกทราง. ท่านได้พัฒนาวัด
จนมีความเจริญ ตอนปลายปี 2479 นี้เองตาหลวงก็ได้ป่วยเป็นโรคชนิดหนึ่งที่บริเวณลำคอ เขาเรียกว่าฝีปรอทรักษาหลายต่อหลายแห่งก็ยังไม่หาย ทำให้ท่านทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวด จนพี่สาวขอให้ท่านลาสิขาเพื่อจะได้สะดวกในการรักษา หลังจากมารักษาตัวที่บ้านเป็นเวลา 6 - 7 เดือนอาการก็ดีขึ้น และหายในที่สุด
ราวกลางปี 2480 ท่านทราบว่า คุณน้าปล้องพี่สาวของท่านได้ไปสู่ขอผู้หญิงไว้ ท่านเลยตัดสินใจเดินเท้าไปวัดควนปันแต เข้ามอบตัวต่อท่านพระครูรัตนาภิรัต. เพื่อขออุปสมบทอีกครั้ง นับเป็นการอุปสมบทครั้งที่ 2 ณ พัทธสีมาวัดควนปันแต โดยมีท่านพนะครูรัตนาภิรัต เป็นพระอุปัชฌายะ. พ่อท่านคล้อย เจ้าอาวาสวัดสุนทราเป็นพรพกรรมวาจาจารย์ พ่อท่านกลั่น วัดควนปันแต. เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2480 ตรงกับวันศุกร์. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ได้รับฉายา ' สีลสวโร '. เมื่ออุปสมบทแล้วตาหลวงก็กราบลาเดินทางกลับวัดควนใสทันที่ เพราะวันรุ่งเช้าเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 คือวันเข้าพรรษา ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมา จึนถึงปี 2488
ในปี 2488 หลังจากตาหลวงสุข เป็นเจ้าอาวาสและจำพรรษาอยู่วัดควนใสได้ 8 พรรษา พอใกล้จะถึงพรรษาที่ 9 เหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิด ก็เกิดขึ้นจนทำให้ตาหลวง ต้องออกจากวัดควนใส มาบุกเบิกวัดร้างที่บ้านควนเถียะ เพื่อสร้างวัดขึ้นใหม่ ชื่อ วัดสุขาสิทธาราม หรือวัดควนเถียะ นั้นเอง หลังจากตาหลวงสุข ตั้งใจพัฒนาหลายปีทำให้มีลูกศิษย์มากมาย จนวันที่ 12 กรกฏาคม 2488 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา ตาหลวงสุข นำพระภิกษุ สามเณร จำนวน 14 รูป ย้ายออกจากควนใสมาจำพรรษาที่วัดควนเถียะ ตาหลวงสุขเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี 2488 - 2522 ในระหว่างนี้ท่านได้รับตำแหน่งทางฝ่ายสงฆ์ ดังนี้
ปี 2490 ท่านได้รับตราตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลท่าเสม็ด
ปี 2494 ท่านได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ
ปี 2522 ตาหลวงสุข ได้ถึงแก่มรณะภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2522 เวลา 03.35 น. รวมศิริอายุได้ 82 ปี 62 พรรษา
ชัวร์ำพระ.คอมsurepra.com